มารอบนี้เป็นเรื่องของแฟนเพจชาว HR ที่มาปรึกษาด้วยความลำบากใจว่า ลูกจ้างในองค์กรท่านหนึ่ง มีหนี้สินจนเจ้าหนี้โทรมาสอบถามเงินเดือน มาขอให้หักเงินให้หน่อย โดย HR ก็ทราบดีว่าหักให้ไม่ได้ และประเด็นที่ลำบากใจมากกว่านั้นคือ นายจ้างมองว่าอยากเลิกจ้างเพราะกังวลเกี่ยวกับปัญหาที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความไม่ไว้วางใจที่จะให้ลูกจ้างรับเงินแทน (เพราะตำแหน่งหน้าที่ของลูกจ้างคนดังกล่าวมีหน้าที่รับเงินแทน) เพราะทราบว่าลูกจ้างมีปัญหาเรื่องเงินๆทองๆ รวมถึงภาพลักษณ์ของบริษัทดูแย่ เมื่อมีจ้าหนี้มาดักรอพบ จึงให้ HR ทำเรื่องเลิกจ้าง และเน้นว่า “ยังไงก็ได้ ไม่จ่ายค่าชดเชย”
เอาเข้าจริงๆเข้าใจเรื่องความไม่ไว้วางใจของนายจ้าง และเรื่องของความวุ่นวาย ไม่ว่าจะเป็นการที่เจ้าหนี้ โทรมาสอบถามเงินเดือน มาขอให้หักเงินให้ แต่ต้องเข้าใจก่อนว่า “ การเป็นหนี้ไม่ใช่ความผิดทางวินัย” จะเอาเรื่องภาระหนี้สินของลูกจ้างมาออกหนังสือเตือนว่า เขาทำผิดวินัยในการทำงานและถือว่าเป็นการขาดคุณสมบัติของการเป็นพนักงาน เพื่อเลิกจ้างไม่ได้ ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (ตัวอย่างเรื่องจริงที่เคยเกิดในกรณีใกล้เคียงกัน คือคำพิพากษาฎีกาที่ 2702/2545)
แต่อย่างไรก็ตามหากหนี้สินรุงรังจนถึงขั้นล้มละลาย และนายจ้างได้กำหนดไว้ในข้อบังคับว่า “ บริษัทอาจมีความจำเป็นต้องให้พนักงานออกจากงาน หากพนักงานมีความประพฤติไม่เหมาะสมหรือมีพฤติการณ์ไม่น่าไว้วางใจแต่ไม่ถึงกับมีความผิด หรือมีหนี้สินรุงรัง มีมลทินมัวหมอง หรือกระทำสิ่งที่ไม่สมควร… บริษัทมีสิทธิจะเลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยให้ตามกฎหมาย” หากกำหนดไว้เช่นนี้ และตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานเกี่ยวข้องกับการรับเงิน หรือต้องการความน่าเชื่อถือสูงในการทำงาน เช่นนี้นายจ้างก็อาจนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างได้ ถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรม (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2559)
————-
ติดต่องานจ้าง
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
#ทนายแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน
#PDPA #พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
#คลินิกกฎหมายแรงงาน
#ทนายฝ้ายคลินิกกฎหมายแรงงาน