ทางเพจของเราขอให้ความเห็นเลยว่า…เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ไม่ได้มีการกำหนดนิยามคำว่า “ป่วย” ไว้ จึงต้องดูความหมายของคำว่าป่วยตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งให้นิยามของคำว่า“ป่วย” ไว้ว่า “รู้สึกไม่สบายเพราะโรค/ หรือความไข้/ หรือเหตุอื่นที่ทำให้รู้สึกเช่นนั้น” ซึ่งหากคำว่าป่วย มีความหมายว่า”รู้สึกไม่สบาย” หรือ “มีเหตุอื่นที่ทำให้รู้สึกเช่นนั้น” ดังนั้น การที่แพทย์ออกใบนัดเพื่อให้ติดตามอาการจึงอาจตีความได้ว่า มีเหตุที่ทำให้แพทย์ต้องติดตามอาการป่วย
ดังนั้นตามความเห็นของผู้เขียน การที่มีใบนัดแพทย์และไปหาแพทย์ตามนัดจึงถือว่าเป็นการลาป่วย อีกอย่างอาการป่วยนั้นไม่จำเป็นต้องเดินโซซัดโซเซ หรือมีอาการให้เห็นโดยเฉพาะอาการที่เกิดขึ้นภายในร่างกายและหมอต้องติดตามเป็นระยะๆ
ลองคิดกลับกันว่า ถ้าเรายันว่าให้ใช้ลากิจ แล้วปรากฏว่าพนักงานกลับมาพร้อมใบรับรองแพทย์ที่ได้ไปหามาจริงตามนัด เช่นนี้แล้วการที่ลงว่าพนักงานลาป่วยก็จำต้องแก้ไขเพราะเขามีใบรับรองแพทย์
(อย่างไรก็ตาม ส่วนนี้ยังไม่มีแนวคำพิพากษาของศาลที่ตีความเอาไว้อย่างชัดเจนดังนั้นการตีความและความเห็นของผู้เขียนข้างต้นซึ่งอาจแตกต่างจากบางตำรา)
————-
ติดต่องานจ้าง
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
#ทนายแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน
#PDPA #พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
#คลินิกกฎหมายแรงงาน
#ทนายฝ้ายคลินิกกฎหมายแรงงาน