กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายครอบครัวกฏหมายแรงงานหนังสือเลิกจ้างไม่ระบุเหตุ นายจ้างจะยกขึ้นอ้างต่อสู้เรื่องไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้ แต่ยกขึ้นต่อสู้กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได

20 November 2021

ทำไมถึงย้ำหนักหนาว่า ถ้าเลิกจ้างเพราะลูกจ้างผิดจริง ต้องระบุในหนังสือเลิกจ้างโดยละเอียดเพราะถ้าไม่ระบุ นายจ้างจะยกมาเป็นข้อต่อสู้เรื่องค่าชดเชยไม่ได้!! (แต่ต่อสู้เรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมยังได้นะ)อ่านมาถึงตรงนี้ใครงง….ก็งงไปด้วยกัน (ล้อเล่น)
ก่อนอื่นทำความเข้าใจก่อนว่าค่าชดเชยกับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมคือคนละเรื่อง ดังนั้น หากนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ระบุเหตุผลในการเลิกจ้าง ไม่ว่าจะด้วยหลงลืม เข้าใจผิด หรือปล่อยไหลก็ตาม นายจ้างจะเอามายกเป็นข้อต่อสู้ว่าลูกจ้างผิด และไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้ (ใครงงให้จำง่ายๆว่า การที่เลิกจ้างโดยอ้างว่าเขาผิด แต่ผิดยังไงกลับไม่บอก จะยกมาต่อสู้ได้ยังไง)

แล้วทำไมค่าเสียหายจากการเลิกจ้าไม่เป็นธรรมนั้นจึงเรียกได้ นั่นก็เพราะว่า การบอกเลิกสัญญาจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง นายจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือก็ได้ แต่การบอกเลิกสัญญาจ้างเป็นหนังสือนั้น พรบ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 17 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้างกำหนดว่า ในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชย นายจ้างต้องระบุเหตุดังกล่าวไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วย มิฉะนั้นนายจ้างจะยกขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ จึงเห็นได้ว่าการบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือและต้องระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างจำกัดเฉพาะที่ยกขึ้นอ้างจำกัดเฉพาะการอ้างหรือข้อต่อสู้ที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 เท่านั้น มาตรา 17 วรรคสาม มิได้บัญญัติห้ามว่า หากไม่ระบุแห่งการเลิกสัญญาจ้างไว้จะยกเป็นข้ออ้างหรือข้อต่อสู้ที่จะไม่จ่ายชดใช้ค่าเสียหายจากการที่เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตาม พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ไม่ได้ ดังนั้นแม้นายจ้างไม่ได้ระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ นายจ้างก็ยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นอ้างหรือต่อสู้ในคำให้การที่จะไม่ชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมได้ เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามหนังสือเลิกสัญญาจ้างโดยระบุว่า มีความจำเป็นบางประการในการบริหารงานของบริษัท จึงกำหนดนโยบายในการเลิกจ้างลูกจ้างตามหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างเอกสารหมาย ล 3 ต่อมานายนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิให้แก่ลูกจ้าง นายจ้างย่อมยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นต่อสู้ในคำให้การ และนำสืบตามข้อต่อสู้ที่จะไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้” ( อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 2962/2555)

————-
ติดต่องานจ้าง
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th

#ทนายแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน
#PDPA #พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
#คลินิกกฎหมายแรงงาน
#ทนายฝ้ายคลินิกกฎหมายแรงงาน