แม้กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาแก่ลูกจ้าง แต่ มาตรา 65 แห่งพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ มีการยกเว้นไว้ ดังนี้
มาตรา 65 ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่หรือซึ่งนายจ้างให้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61 และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา 63 แต่ลูกจ้างซึ่ง นายจ้างให้ทำงานตาม (3) (4) (5) (6) (7) ( หรือ (9) มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับ อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
(1) ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือ การเลิกจ้าง
จากความดังกล่าว จะเห็นว่า เฉพาะลูกจ้างมีอำนาจหน้าที่ในการทำแทนนายจ้างในกรณีการให้บำเหน็จ ลดค่าจ้าง หรือ เลิกจ้าง เท่านั้นจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรา 61
ดังนั้น หากหัวหน้างานหน่วยงานของท่านไม่ได้มีอำนาจ และไม่ได้รับมอบอำนาจกระทำการดังกล่าว ก็ยังมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ส่วนบางบริษัทที่กำหนดไว้ว่าหัวหน้างานทุกตำแหน่งไม่มีสิทธิ์ได้โอทีแต่หัวหน้างานนั้นๆ ก็ไม่ได้เข้าข่ายตามความในมาตรานี้ การไม่จ่ายค่าล่วงเวลาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
————-
ติดต่องานจ้าง
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
#ทนายแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน
#PDPA #พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
#คลินิกกฎหมายแรงงาน
#ทนายฝ้ายคลินิกกฎหมายแรงงาน