กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานแอบหลับในเวลางาน ถือเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้หรือไม่

10 November 2021

ไหนมนุษย์ออฟฟิศคนไหนไม่เคยหลับในขณะทำงานบ้าง ยกมือขึ้น 🙋

ถ้าไม่เคยง่วงเลย นี่เก่งสุดยอดไปเลยฮะ
ขอมอบโล่ให้เลย เพราะเราปรือตลอด ง่วงจนไม่ไหวก็ลุกไปชงกาแฟมั่ง ไปล้างหน้ามั่ง แต่ไม่กล้าฟุบ ทั้งที่ง่วงใจจะขาด ไม่ใช่ใจสู้นะฮะ แต่เพราะเจ้านายนั่งด้านหลังต่างหาก

และด้วยเรื่องง่วงจนทนไม่ไหวนี่แหละ เลยหยิบเอาฎีกาเก่าปี 2557 มาเล่าให้ฟัง เพราะว่าด้วยเรื่องแอบนอนหลับในเวลาทำงาน นายจ้างเลิกจ้างและศาลพิพากษาว่าเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้ เลิกจ้างเป็นธรรม

ส่วนเรื่องราวเป็นอย่างไร ทำไมศาลตัดสินเช่นนั้น มาอ่านไปพร้อมกันแก้ง่วงเด้อสาว

คำพิพากษาฎีกาที่ 3833/2557
การที่ลูกจ้างนอนหลับในขณะทำงานนนั้นจะถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรงหรือไม่นั้นต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์การกระทำผิด ตลอดจนความเสียหายที่เกิดจากการกระทำผิดว่ามีมากน้อยเพียงใดประกอบด้วยการที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่หนีไปนอนระหว่างเวลาทำงาน แม้เป็นการกระทำที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้าง แต่ก็เป็นช่วงเวลาสั้นๆ และไม่ได้ออกไปภายนอกบริษัท ทั้งไม่ปรากฏว่าการกระทำของลูกจ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างเพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง เมื่อลูกจ้างไม่เคยถูกตักเตือนเป็นหนังสือในการกระทำดังกล่าวมาก่อนการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 อย่างไรก็ตามการกระทำของลูกจ้างดังกล่าวเป็นกรณีละทิ้งหน้าที่การงานไปเสีย ซึ่งนายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยสาเหตุดังกล่าวอันเป็นความผิดตามข้อบังคับการทำงาน ก็เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง

————- 💙

ติดต่องานจ้าง
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th

#ทนายแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน
#PDPA #พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
#คลินิก​กฎหมาย​แรงงาน
#ทนายฝ้ายคลินิกกฎหมายแรงงาน