การลาออกเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว นายจ้างไม่จำเป็นต้องอนุมัติก็มีผลแล้ว
แล้วถ้าในสัญญากำหนดไว้ว่าต้องให้นายจ้างอนุมัติก่อนล่ะ จะมีผลทางกฎหมายเช่นไร ??
กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นิติกรรมใดที่ทำขึ้นขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของกฎหมายคุ้มครองแรงงานย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 หรือแตกต่างจากที่บัญญัติไว้ก็ตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน
ส่วน การลาออกลูกจ้างจะทำด้วยวาจา หรือ ทำเป็นหนังสือก็ได้(ฎีกาที่ 10161/2551) ดังนั้น วาจา ไลน์อีเมลล์หรือเป็นหนังสือมีผลหมด
อย่างไรตาม หากบริษัทกำหนดว่าต้องได้รับการอนุมัติก่อน แต่ลูกจ้างแจ้งลาออกและออกโดยโดยที่นายจ้างไม่อนุมัติ ก็เป็นเพียงการลาออกที่ผิดระเบียบวิธีปฏิบัติของนายจ้าง ซึ่งหากนายจ้างเกิดความเสียหายก็สามารถฟ้องร้องได้ แต่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้ศาลเห็นถึงความเสียหายดังกล่าวด้วย
การลาออกของลูกจ้าง “ไม่ต้อง” ได้รับการอนุมัติจากนายจ้างก่อน การลาออกก็มีผล ทำให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลง แต่เพื่อไม่ให้นายจ้างเกิดความเสียหายควรแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดและส่งมอบงานให้เรียบร้อย
สรุปว่า ลาออกนายจ้างไม่อนุมัติ ไม่ลงนาม ก็มีสิทธิออกได้ เพียงแต่ควรลาออกให้ถูกระเบียบหน่อยส่งมอบงานให้เรียบร้อย มาให้ดีใจไปให้คิดถึงนะคะ
#ทนายแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน
#คลินิกกฎหมายแรงงาน
#ทนายฝ้าย
กฎหมายครอบครัวกฏหมายแรงงานเจ้านายไม่อนุมัติให้ลาออกทำไงดี นายจ้างจะไม่ออกหนังสือรับรองการทำงานให้รึป่าว จะมีผลกระทบอะไรไหม
10 November 2021