หลายคนยังเข้าใจว่า
– เมื่อไม่มีสัญญาจ้างก็ไม่ถือเป็นลูกจ้าง และนายจ้างกัน
– เลี่ยงการจ้างแรงงานโดยใช้ชื่อสัญญาจ้างเป็นแบบอื่นใครที่ยังเข้าใจเช่นนั้นอยู่ลองมา ทบทวนกันใหม่ไปพร้อมกันในโพสต์นี้
สัญญาจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะทำเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาระบุชัดเจนหรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยายซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้
ซึ่งเมื่อเทียบเคียงจากฎีกาที่ 9985/2557 ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายจ้างว่าจ้างลูกจ้างทำงานในหน้าที่ที่ปรึกษาด้านการตลาด โดยจ่ายค่าจ้างให้เป็นรายเดือน เดือนละ 20,000 บาท ตลอดเวลาที่ทำงานให้โดยไม่กำหนดปริมาณงานว่าต้องทำมากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องด้วยคำนิยามของคำว่าลูกจ้าง ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานที่ให้นิยามไว้ว่า ” ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร
นอกจากนี้ปรากฏอีกว่าลูกจ้างต้องปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างที่ให้ทำรายงานการซื้อขายสินค้ารวมทั้งทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้นายจ้างตรวจสอบทุกเดือน เป็นการแสดงให้เห็นว่านายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือลูกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 แล้ว แม้ลูกจ้างไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างในเรื่องอื่นก็ตาม จึงถือได้ว่าเป็นลูกจ้างแล้ว
ข้อสังเกตจากฎีกาข้างต้นจะเห็นได้ว่า แม้ในสัญญาจ้าง จะจ้างลูกจ้างโดยทำเป็นสัญญาจ้างที่ปรึกษา แต่เมื่อพฤติกรรมการจ้างงานนายจ้างยังคงมีอำนาจบังคับบัญชา ให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคำสั่ง ไม่ได้ถือเอาความสำเร็จของงานเป็นสำคัญ พฤติการณ์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการจ้างแรงงาน ส่งผลให้นายจ้างและลูกจ้างมีสิทธิและหน้าที่ต่อกันตามสัญญาจ้างแรงงาน และอยู่ภายใต้พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯอีกด้วย
————-
ติดต่องานจ้าง
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th#ทนายแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน
#PDPA #พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
#คลินิกกฎหมายแรงงาน
#ทนายฝ้ายคลินิกกฎหมายแรงงาน
กฎหมายครอบครัวกฏหมายแรงงานสัญญาจ้างแรงงานดูที่พฤติกรรมการจ้างระหว่างกัน แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อก็อาจถือเป็นการจ้างตามกฎหมาย
10 November 2021