กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานพนักงานมาสายแต่กลับดึกคิดว่าชดเชยเวลาให้ เจอแบบนี้สามารถออกใบเตือนได้หรือไม่

10 November 2021

ล่าสุดเป็นคำถามที่ต้องตั้งสติก่อนจะตอบ สำหรับเรามาก เนื่องจากมีแฟนเพจถามว่า…
ขออนุญาตถามค่ะ ในเมื่อกฎหมายแรงงานกำหนดให้ลูกจ้างทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง ถ้างั้น หนูมาสายแต่นั่งทำงานจนครบ 8 ชั่วโมงโดยไม่ขอค่าล่วงเวลา นายจ้างออกหนังสือเตือนว่ามาสาย แบบนี้ได้ด้วยเหรอค่ะ??

เอาแบบนี้ คือ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 23 กำหนดให้นายจ้างกำหนดเวลาทำงานปกติ และประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบ ถึงเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการทำงานในแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง และสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมงก็จริงอยู่

แต่อย่าลืม ว่าถ้านายจ้างเค้ากำหนดเวลางานปกติให้แล้ว เช่น 8.30-16.30 น. รวม 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่สาวมาทำงานในเวลาที่ไม่ปกติอย่างหมู่เขา ใครจะติดต่องานกับสาวได้ และการที่สาวนั่งเกินเวลาและอ้างว่าไม่ขอค่าล่วงเวลานั่นยิ่งแล้วใหญ่ เพราะว่าการทำงานล่วงเวลาที่จะได้ค่าล่วงเวลานั้น ตามมาตรา 24 แห่งพ.ร.บ เดียวกัน กำหนดว่า ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่ได้รับความยินยอม จากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงาน ฉุกเฉิน หรือเป็นงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น

นั่นหมายถึง การจะทำงานล่วงเวลาและได้ค่าล่วงเวลาได้นั้น นายจ้างต้องสั่งและขอความยินยอมจากเราก่อน ไม่ใช่ว่าใครนั่งเกินเวลาและบอกว่านี่คือทดแทนเวลาที่สายแล้ว แบบนี้ไม่ได้ ไม่เอา ไม่ดี

ดังนั้น หากนายจ้างออกหนังสือเตือนเพราะเรื่องดังกล่าวก็สามารถทำได้ และที่สำคัญหากนายจ้างออกหนังสือเตือนที่มีองค์ประกอบครบถ้วนแล้ว และลูกจ้างยังทำผิดซ้ำ ลูกจ้างอาจหมดสิทธิได้รับค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า รวมถึงค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา 583 กำหนดว่า หากลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณก็ดี ละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทำความผิดอย่างร้ายแรงก็ดี หรือทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ และ มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณี (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด…”

ไอ่ที่เข้าใจผิดมาแล้วก็ไม่เป็นไรแต่จากนี้ไปเราต้องเข้าใจให้ถูก เพื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง ลดความเสี่ยงในการตกงานนะเพื่อนนะ
————- 💙

ติดต่องานจ้าง
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th

#ทนายแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน
#PDPA #พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
#คลินิก​กฎหมาย​แรงงาน
#ทนายฝ้ายคลินิกกฎหมายแรงงาน