เมื่อถึงคราวจะเลิกจ้างเพราะลูกจ้างผิดจริงๆ ไม่จำเป็นจะต้องเกรงใจ และถ้าเป็นไปได้ห้ามขี้เกียจเขียนเด็ดขาด!!
เพราะหากไม่ระบุให้ละเอียด เมื่อลูกจ้างไป ใช้สิทธิทางศาลหรือร้องพนักงานตรวจแรงงาน นายจ้างก็หมดสิทธิยกข้อเท็จจริงดังกล่าวมาปฏิเสธในชั้นศาลหรือชั้นพนักงานตรวจแรงงาน ดังเช่น ฎีกาที่ 3553/2556 โจทก์ระบุเหตุในหนังสือเลิกจ้างไว้เพียงว่าจำเลยที่ 2 ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นพนักงาน ไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างว่าการประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 นั้นประพฤติตนในรายละเอียดอย่างไร ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งจนเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 เมื่อโจทก์ไม่ระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างว่าจำเลยที่ 2 มีสัมพันธ์ในทางชู้สาวอันเป็นเหตุผิดวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน โจทก์จึงยกเหตุมีสัมพันธ์ในทางชู้สาวเป็นข้อต่อสู้เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่ได้
อ่านมาถึงตรงนี้นายจ้างและตัวแทนนายจ้างทั้งหลายคงทราบดีถึงความจำเป็นในการออกหนังสือเลิกจ้างโดยสายรายละเอียดไปให้ครบถ้วน แต่อย่างไรก็ดีการใส่รายละเอียดไปให้ครบถ้วนนั้น ต้องไม่ใช่ การด่าทอ แล้วถ้าเป็นไปได้ก็ไม่จำเป็นจะต้องอ้างอิงไปถึงบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง เพราะ นับถือเป็นการกล่าวหาและเป็นการหมิ่นประมาท
————-
ติดต่องานจ้าง
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th