ลูกจ้างลาออก แต่นายจ้างใจดีให้ค่าชดเชย
ภายหลังเปลี่ยนใจ ขอเรียกคืน ไม่ได้!!
เคยได้ยินคำว่า “ทำตามอำเภอใจ” ไหมคะ??
ถ้าตามภาษาทั่วๆไปการทำตามอำเภอใจก็หมายความว่าการทำไปตามใจชอบโดยไม่มีกฎเกณฑ์มากำหนด แต่ทีนี้ใน ภาษากฎหมายก็ดันมีคำว่าตามอำเภอใจเสียด้วยสิ และก็มาเกี่ยวพันกับคำถามของประเด็นวันนี้ซะด้วย
ประเด็นวันนี้ มีว่า พนักงานทำผิดบริษัทจึงให้พิจารณาตัวเองลาออกไป แต่เห็นแก่ความสัมพันธ์ที่ร่วมงานมายาวนานเลยให้เงินชดเชยไปด้วย แต่ต่อมาบริษัทเกิดความเสียหายจึงอยากขอค่าชดเชยคืน เช่นนี้ จะขอคืนได้หรือไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 407 วางหลักไว้ว่า บุคคลใด” ได้กระทำการอันใดตามอำเภอใจ” เหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้ โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ท่านว่าบุคคลผู้นั้นหามีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์ไม่
ประเด็นต่อมาคือ การลาออกของลูกจ้างไม่ได้เป็นการถูกเลิกจ้าง นายจ้างจึงไม่มีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าชดเชย การที่นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเนื่องจากลูกออกจากงานอันถือเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่ว่าตนเองไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ นายจ้างจึงหามีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลยไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407
เรื่องเช่นเดียวกับที่แฟนเพจทางนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว จะปรากฏ อยู่ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542 ใครสนใจลองไปศึกษาดูนะคะ
โดยในส่วนความเสียหายที่กิดจากการกระทำของลูกจ้างที่นายจ้างพบภายหลันายจ้างก็ต้องไปฟ้อง เป็นคดีใหม่ และพิสูจน์ให้เห็นถึงความเสียหายดังกล่าว แต่ไม่สามารถเรียกค่าชดเชย คืนจากลูกจ้างได้
สรุป คือทำตามอำเภอใจเรียกคืนไม่ได้ ทำตามหัวใจก็คงเช่นกัน ดังนั้น ถ้าชอบทำตามอำเภอใจจนกลัวจะเสียใจ คราวต่อไปแบ่งใจมาฝากเราไว้ให้ช่วยคิดได้นะ…
แบ่งใจให้ฉันนิดนึงพอ ฝากเธอให้ข่วยพิจารณา