จากคราวก่อนที่บอกกันไว้ว่าสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลานั้นเมื่อ ครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาก็ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอีก และไม่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า
อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่หลายบริษัทและพนักงานหลายคนเคยเจอคือในกรณีที่หลังจากสิ้นสุดสัญญาจ้างไปแล้วแต่บริษัทยังคงให้ทำงานอยู่ต่อไปเรื่อนๆ แบบนี้ผลทางกฎหมายจะเป็นเช่นไร
คลินิกกฎหมายแรงงานตอบให้ฟัง ดังนี้ค่ะ
- สัญญาจ้างดังกล่าวกลายเป็นสัญญาจ้างแบบที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 581ดังนั้น หากจะเลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนเมื่อถึงหรือก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป
มาดูตัวอย่างฎีกา ในกรณีนี้กัน
โดยฎ.7717/2551 ได้วินิจฉัยว่า ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ค่าชดเชย หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เงินที่จำเลยให้โจทก์ก่อนที่จะครบกำหนดระยะเวลา 12 เดือน ตามสัญญาจ้าง จึงมิใช่ค่าชดเชย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเดิมเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนระหว่างวันที่ 14 เมษายน 2543 ถึงวันที่ 13 เมษายน 2544 แต่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวในวันที่ 13 เมษายน 2544 แล้วจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ ยังคงให้โจทก์ทำงานต่อไป ทั้งยังยอมจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ จึงต้องถือว่าได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 581 กลายเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างกันไว้ ดังนั้นเมื่อจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ทราบเมื่อถึงหรือก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป
————- 💙
ติดต่องานจ้าง
✅ คดีความ
✅ ที่ปรึกษากฎหมาย
✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
✅VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า