กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานสัญญาจ้าง “แม้กำหนดระยะเวลา” แต่ถ้าไม่ใช่เป็นการจ้างตามฤดูกาล ต้องจ่ายค่าชดเชย!!

5 September 2021

เนื่องจากในมาตรา 118 ได้ กำหนดข้อยกเว้นของการไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ไว้ว่า…

 

“การจ้างที่มีกําหนดระยะเวลาที่ไม่อยู่ในบังคับที่จะได้รับค่าชดเชยนั้น จะกระทําได้สําหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจ หรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรืองานที่มีลักษณะเป็นครั้งคราวมีกําหนดการสิ้นสุด หรือความสําเร็จของงานหรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทําสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง” เช่นนี้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

 

จึงทำให้ HR หลายคนเข้าใจผิดว่าสัญญาจ้างแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาเมื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จึงมาทำสัญญาจ้างกันในลักษณะปีต่อปี

 

โดยไม่ได้ตีความให้ชัดเจนว่า ในมาตราดังกล่าวได้บอกว่า งานนั้นต้องมีลักษณะ คือ

1.กระทําได้สําหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจ หรือ

2.การค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือ

3.งานที่มีลักษณะเป็นครั้งคราวมีกําหนดการสิ้นสุด หรือ

4.ความสําเร็จของงานหรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาล

5.งานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยปีนายจ้างและลูกจ้างได้ทําสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

 

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน จะยกตัวอย่างให้ฟังเช่นถ้านายจ้างเป็น บริษัทก่อสร้าง จำเป็นจะต้องจ้างลูกจ้างเพื่อเป็นแรงงานในการก่อสร้าง ในงานโครงการ ต่อให้ทำสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แค่ 1 ปี เมื่อเลิกจ้างก็ยังต้องจ่ายค่าชดเชย แต่สิ่งนึงที่จะไม่เสียอย่างแน่แท้ในสัญญาแบบมีกำหนดระยะเวลาก็คือค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเพราะสัญญาได้กำหนดวันสิ้นสุดไว้เป็นที่แน่นอนแล้วจึงไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอีกที

 

ข้อสังเกต!! ในบางกรณีเมื่อสัญญาครบกำหนดระยะเวลาแล้วแต่ยังมีการทำงานกันต่อไปอีกเรื่อยๆ โดยนายจ้างยังไม่ได้จ่ายค่าชดเชยให้ ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไรเดี๋ยวพรุ่งนี้มาเล่าตอนที่ 2 ให้ฟังนะคะ

 

————- 💙

ติดต่องานจ้าง

✅ คดีความ

✅ ที่ปรึกษากฎหมาย

✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

✅VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th

และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได