กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานนายจ้างขอลดเงินเดือน หากไม่ยินยอม สามารถทำอะไรได้บ้าง

5 September 2021

เรื่องนี้เคยเขียนไปหลายรอบแล้ว เกี่ยวกับการขอลดเงินเดือน ซึ่ง หลายท่านคงทราบดีว่าเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง กล่าวคือ หากลูกจ้างไม่ยินยอมนายจ้างจะทำไม่ได้

แต่ก็ยังมีหลายท่านที่เจอคำถามนี้จากนายจ้างแล้วยังมึนๆงงๆไปไม่ถูกเพราะมี 2 ตัวเลือกระหว่างยอมให้ลด หรือลาออก  ถ้าเกิดใครเจอกรณีนี้ ฟังนะ!!

ในทางกฎหมาย อย่างที่เราเคยบอกไปว่าถ้าเราไม่ยินยอมนายจ้างจะลดไม่ได้ และเราก็ไม่มีความจำเป็นต้องลาออกด้วย หากสิ้นเดือนนายจ้างจ่ายเงินเดือนไม่ครบถ้วน ทั้งที่เราไม่ยินยอม ก็ไปกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน เพื่อร้องเรียนและเรียกค่าจ้างในส่วนที่เหลือหรือจะใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลแรงงานได้

ใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้วเกิดคำถามว่า..

อ้าว!! ยังงั้นก็อยู่ต่อยากนะสิ ไม่ต่างจากลาออกเลย อยู่ไปก็โดนเพ่งเล็ง ไม่ก็จ้างออก

(แต่อย่าลืมนะคะกรณีจ้างออกได้ทั้งค่าชดเชยและบางทีได้ค่าตกใจด้วย)

ส่วนใครที่บอกว่า ก็เหมือนถูกกดดันให้ลาออกอ่ะ

เพราะจะไม่ยอมลดเงินเดือนก็ไม่ได้

แล้วก็ไม่อยากถูกเพ่งเล็งด้วย อยากมีงานทำด้วย

ทำไงดี???

 

คำตอบคือ : เราไม่สามารถใช้หลักกฎหมายตอบให้ได้เลย มันต้องขึ้นอยู่กับบริบทต่างๆในชีวิตของคนถามด้วยไม่ว่าจะเป็น

 

– ความเข้มแข็งของลูกจ้างในการต่อสู้เพื่อสิทธิตัวเอง (ร้องเรียนนายจ้างแต่ทำงานต่อไปด้วยอันนี้ก้เคยเจอมาแล้ว)

 

– ความอดทน ความอึด ว่าจะลาออกเองหรือให้เขาเลิกจ้าง

 

– เงินออม กรณีลาออก ว่ามีเพียงพอไหม (ถ้ามีอาจจะตัดสินใจง่ายขึ้น)

 

ส่วนหลายคนที่บอกว่า ไปศาลแรงงานก็แพ้ เพราะนายจ้างมีอิทธิพล ให้เลิกความคิดเรานั้นไปซะทีนะ

เพราะถ้าตัวเองไม่ได้ทำอะไรผิดและนายจ้างเลิกจ้าง ก็มีสิทธิ์ตามกฎหมายทุกประการ

ในบรรดาศาลทุกศาลนายจ้างรู้ดีค่ะ

ว่าศาลแรงงานใครได้เปรียบ

ไม่เชื่อไปถาม HR ของทุกบริษัทได้เลย เพราะ HR เป็นกลุ่มๆนึง ที่ลำบากใจที่สุดที่จะต้องอธิบายกฎหมายแรงงานให้นายจ้างฟังในขณะเดียวกันก็ต้องเข้าใจเพื่อนร่วมงานและอธิบายนโยบายไปด้วย

 

————- 💙

ติดต่องานจ้าง

✅ คดีความ

✅ ที่ปรึกษากฎหมาย

✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

✅VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th

และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า