เนื่องจากการให้ข้อมูลของบุคคลอื่นแต่ละครั้งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนให้ข้อมูล เช่น เราไม่ทราบแน่ชัดว่าคนที่โทรมาเพื่อสอบถามนั้นเป็นใครกันแน่ และจะนำข้อมูลดังกล่าวของลูกจ้างไปทำอะไร
ด้วยเหตุดังกล่าว พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 มาตรา 80 จึงได้กำหนดความรับผิดทางอาญาไว้ว่า หากผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วผู้นั้นนำไปเปิดเผยแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตามมาตรานี้ได้กำหนดข้อยกเว้นความรับผิดจากการเปิดเผยในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การเปิดเผยตามหน้าที่
(2) การเปิดเผยเพื่อประโยชน์แก่การสอบสวน หรือการพิจารณาคดี
(3) การเปิดเผยแก่หน่วยงานของรัฐในประเทศหรือต่างประเทศที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
(4) การเปิดเผยที่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือเฉพาะครั้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
(5) การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องคดีต่าง ๆ ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ
ประกอบกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่บังคับใช้มาก่อนหน้านี้เป็นเวลานานแล้วก็ได้กำหนดไว้ใน มาตรา 585 ว่า “… เมื่อการจ้างงานสุดสิ้นลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไร และงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร…”
จากกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า แม้ว่าลูกจ้างจะเป็นคนขอให้ออกหนังสือรับรองการทำงานเองหรือบริษัทเป็นคนออกให้ กฎหมายก็ให้ความคุ้มครองกับลูกจ้าง โดยนายจ้างมีสิทธิ์บอกเพียง
1.ลูกจ้าง ทำงานมานานเท่าไหร่
2.ลักษณะแห่งการทำงานนั้นเป็นอย่างไร
ไม่ได้ให้สิทธิ์นายจ้าง เขียนไปในหนังสือรับรองการทำงานว่า ลูกจ้างมีลักษณะนิสัยอย่างไรหรือมีผลการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร
ดังนั้นทุกองค์กรที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล จึงต้องรู้ขอบเขตของการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล มีระบบควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล การยืนยันตัวตนของผู้ขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึงต้องมีการกำหนดนโยบายสำหรับบุคคลภายในองค์กรที่ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลแล้ว เนื่องจากมีข้อบังคับต่าง ๆ ที่หากละเมิดแล้ว จะมีผลให้เกิดโทษอาญา โทษทางปกครอง และความรับผิดทางแพ่ง
#PDPA กำลังจะมา เริ่มศึกษาและวางแผนกันนะคะ
———–💙
ติดต่องานจ้าง
✅ คดีความ
✅ ที่ปรึกษากฎหมาย
✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
✅VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า