ก็เข้าใจนายจ้างนะคะว่าเมื่อเรียกเก็บเงินจากลูกค้าไม่ได้ ก็ถ้าจะทำให้การบริหารการเงินภายในมีปัญหาแตก็คงไม่ใช่ วิธีที่จะมาหักเงินเดือนเซลล์ เพราะเงินเดือน คือ ค่าตอบแทนการทำงานที่ลูกจ้างได้ทำไป
ประกอบกับมาตรา 76 นั้น ห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ของลูกจ้าง เว้นแต่จะเป็นการหักเพื่อ
1.ชำระภาษีเงิน
2.ระค่าบำรุงสหภาพแรงงาน
3.ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือหนี้สวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว
4.เป็นเงินประกัน หรือชดใช้ค่าเสียหายให้นายจ้างตามมาตรา 10 กรณีลูกจ้างจงใจทำให้เกิดความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงฯ
5.เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม
และที่สำคัญที่สุด คือการหักค่าจ้างที่จะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง จะต้องทำเป็นหนังสือไว้อย่างชัดเจนก่อนจึงจะสามารถหักได้
และหากนายจ้างฝ่าฝืนก็มีโทษตามมาตรา 144 คือจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาถึงตรงนี้นายจ้างอาจจะมีคำถามว่า ถ้ากรณีที่พนักงานขายไม่ได้คัดกรองลูกค้า นายจ้างจะมีวิธีบริหารอย่างไรเพื่อให้ได้ลูกค้าที่ดี จ่ายเงินตรงตามเวลา ในส่วนนี้เรามีความเห็นว่าทางบริษัทก็ควรจะมีหลักเกณฑ์การประเมินความสามารถในการซื้อขายสินค้าหรือการให้เครดิตของคู่ค้าในแต่ละราย ก่อนที่จะทำสัญญาให้มีผลผูกพันกันรวมถึงใช้ความระมัดระวังในการทำสัญญา ไม่ใช่สัญญาปากเปล่า หรือร่างไปลวกๆ เมื่อมีกรณีที่เกิดข้อพิพาทกันจริงๆเรียกเก็บเงินไม่ได้ นายจ้างก็จะสามารถนำเอกสารสัญญานั้นไปใช้สิทธิ์เรียกร้องทางศาลได้ค่ะ
————- 💙
ติดต่องานจ้าง
✅ คดีความ
✅ ที่ปรึกษากฎหมาย
✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
✅VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า