อย่างที่เคยเน้นย้ำไปว่า ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานนั้น คำว่าลูกจ้าง หมายถึง ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร
แล้วคำว่าลูกจ้างรายวัน มันโผล่มาจากไหน ให้เข้าใจผิดอยู่เรื่อย??
ในตรงนี้ เราคิดเอาเองว่าอาจจะมีที่มาจากการ คำนวนจ่ายค่าจ้างแบบรายวัน แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าหากมีการจ่ายค่าจ้างแบบรายวัน ถ้าหากลูกจ้างคนนั้นต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของนายจ้าง มีวันทำงานแน่นอน ขาดลามาสายต้องบอก และเป็นผู้ที่ทำงานโดยได้รับค่าจ้าง เป็นการตอบแทน ก็ถือเป็นลูกจ้างตามกฎหมาย และมีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานทุกประการ ซึ่งรวมถึงการลาป่วยและลากิจด้วย ( พูดง่ายๆก็คือไม่ว่าจะเป็นการแบ่งจ่ายเป็นรายวันรายสัปดาห์หรือรายเดือนก็เป็นเพียงวิธีการ และกำหนดการชำระเงินไม่ได้ทำให้ความเป็นนายจ้างลูกจ้างเปลี่ยนแปลงไป)
ดังนั้น ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยตามจริง และนายจ้างจ่ายต้องค่าจ้าง ให้แก่ลูกจ้าง ในวัน ลาป่วยเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน ส่วนลากิจก็สามารถลาโดยมีเหตุธุระจำเป็นได้ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อปี โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามปกติไม่เกิน 3 วันต่อปี
( ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังไม่รวมวันลาประเภทอื่น ตามพรบคุ้มครองแรงงานด้วย ลูกจ้างรายวันก็มีสิทธิ์เช่นเดียวกันกับลูกจ้างประจำ)
ข้อมูลทั้งหลายเหล่านี้หวังว่าเพื่อนๆชาว HR หรือผู้ประกอบการควรจะทราบไว้ เพื่อนำไปบริหารการจ้างให้ถูกต้องนะคะ.. อย่าลืมนะ อายุความในการฟ้องร้องค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา มีอยู่ถึง 2 ปี เกิดลูกจ้างเขาทดๆไว้ แล้วมาฟ้องตอน ลาออกหรือถูกเลิกจ้างนายจ้างอาจจะเสียทั้งเงินทั้งชื่อเสียงได้นะคะ
————-
ติดต่องานจ้าง
คดีความ
ที่ปรึกษากฎหมาย
ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า