ถามกันมาหลายคนว่า
นายจ้างบังคับให้ฉีดวัคซีนยี่ห้อที่ไม่อยากฉีด
นายจ้างบังคับให้ฉีดแบบไขว้
ไม่ฉีดได้ไหม??
บุคคลย่อมมีสิทธิในเสรีภาพร่างกายของตนกันทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนี้ เกี่ยวกับประเด็นผลข้างเคียงของวัคซีนแต่ละยี่ห้อ ทำให้เกิดความกังวลในการฉีด ซึ่งเป็นประเด็นคำถามที่ว่า บริษัทบังคับให้พนักงานฉีดวัคซีน จะสามารถบังคับได้หรือไม่และถ้าพนักงานไม่ยินยอม จะสามารถไล่ออกได้หรือไม่
คลินิกกฎหมายแรงงานขอให้ความเห็นแบบนี้
“นายจ้างไม่สามารถบังคับให้ลูกจ้างฉีดวัคซีน และไม่สามารถลงโทษได้” เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจนายจ้างดำเนินการดังกล่าวได้ มีเพียงพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มอบอำนาจให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่จะสั่งให้ลูกจ้างที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เช่น ผู้สัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด–19 เข้ารับการตรวจจากแพทย์ หรือเข้ารับการสร้างภูมิคุ้มกันโรค ตามวัน เวลา และสถานที่ที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนดไว้
คำถามต่อมาคือใครจะเป็นผู้ประเมินว่าลูกจ้างมีความเสี่ยงในการติด covid หรือไม่ ในกรณีนี้หากตอบตามหลักกฎหมายเลย ผู้ประเมินว่าใครฃฃฃฃฃมีความเสี่ยงหรือไม่คือ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่นั้นมีอำนาจที่จะ
1.ดำเนินการเอง หรือ
2.ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ใดดำเนินการ ดังต่อไปนี้…
“…. ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะติดโรคได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคตามวัน เวลา และสถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนด เพื่อมิให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดแพร่ออกไป…”
ดังนั้น หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ลูกจ้างมีความเสี่ยงที่จะติดโควิด–19 และเจ้าพนักงานควบคุมโรค หรือผู้ที่ได้รับคำสั่งให้ดำเนินการพิจารณาแล้วว่ามีความเสี่ยง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ก็อาจมีคำสั่งให้ลูกจ้างเข้ารับการตรวจจากแพทย์ หรือคำสั่งให้ลูกจ้างเข้ารับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคเพื่อป้องกันโรคเป็นการเฉพาะรายได้
โดยถือว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่มีลักษณะกำหนดขึ้นเพื่อคัดกรองป้องกัน เฝ้าระวัง รักษา ควบคุมมิให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 อีกทั้งยังเป็นการป้องกันสุขภาพของบุคคลอื่น จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหากลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่มีเหตุอันสมควรถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายตามนัยมาตรา 119 (4) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข้อมูลอ้างอิงจาก : https://www.labour.go.th/index.php/59578-19-37…
————- 💙
ติดต่องานจ้าง
✅ คดีความ
✅ ที่ปรึกษากฎหมาย
✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
✅VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า