กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานนายจ้างไม่ได้แจ้งเหตุแห่งการเลิกจ้าง ก็ไม่สามารถยกขึ้นต่อสู้กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้

5 September 2021

วันนี้เขียนประเด็นในฝั่งของนายจ้างบ้างนะคะ ประเด็นมีอยู่ว่า นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้แจ้งเหตุผลในการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบ นายจ้างจะสามารถยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นต่อสู้ กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้หรือไม่

คลินิกกฎหมาแรงงานขอให้ความเห็นดังนี้

เรื่องดังกล่าวศาลฎีกาได้ตัดสินไว้ ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2560 มีใจความว่า

โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การวินิจฉัยว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 มิได้บัญญัติว่า ถ้านายจ้างไม่ได้แจ้งเหตุผลในการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะเลิกจ้างแล้ว นายจ้างจะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นอ้างภายหลังไม่ได้ และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 วรรคท้าย ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับค่าชดเชยมาใช้บังคับแก่กรณีการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมด้วย

ดังนั้นนายจ้างย่อมยกเหตุเลิกจ้างขึ้นอ้างในภายหลังเพื่อต่อสู้คดีกับลูกจ้างที่ฟ้องว่านายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ แม้นายจ้างมิได้แจ้งเหตุผลในการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะเลิกจ้าง

แต่หากเป็นกรณีพิพาทเกี่ยวกับค่าชดเชยตามมาตรา 118 หากนายจ้างมิได้แจ้งเหตุผลในการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะเลิกจ้าง นายจ้างจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในภายหลังไม่ได้ ต่อให้ลูกจ้างทำผิดจริงก็ตาม นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชย

————- 💙

ติดต่องานจ้าง

✅ คดีความ

✅ ที่ปรึกษากฎหมาย

✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

✅VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th

และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า