เคสล่าสุดที่เข้ามาปรึกษามีอยู่ว่านายจ้าง ได้เรียกพนักงานไป พูดคุยและเลิกจ้างด้วยวาจา โดยตกลงว่าหลังเลิกจ้างแล้วจะชำระค่าจ้าง และค่าชดเชยตามกฎหมายให้ ลูกจ้างก็โอเค ตอบตกลงไปเพราะเห็นเศรษฐกิจช่วงนี้ก็ไม่ดี ได้เงินค่าชดเชยไปก็อยากจะกลับต่างจังหวัดแล้ว
สรุปพอลูกจ้างตกลงโอเค สิ้นสุดการเป็นพนักงานตามที่นายจ้างแจ้งด้วยวาจาแล้ว ปรากฏว่านายจ้างกลับมีหนังสือมาแจ้งว่าหยุดงาน 3 วัน โดยไม่มีเหตุและไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นการเลิกจ้าง ลูกจ้างเลยไปไม่ถูกเลยทีนี้ ไหนบอกว่าเลิกจ้างกันแล้วด้วยวาจาไง แล้วมาหาว่าลูกจ้างไม่ไปทำงานได้อย่างไร
ประเด็นนี้จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก และคลินิกกฎหมายแรงงานก็จะมาแนะนำหากใครเจอเหตุการณ์เลิกจ้างด้วยวาจาอย่างนี้ควรจะทำอย่างไร
- พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง ไม่ได้บัญญัติว่าการเลิกจ้างต้องกระทำเป็นหนังสือ การที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายแล้ว (อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5933/2550) ถ้านายจ้างไม่ออกหนังสือเลิกจ้างให้และยืนยันว่าจะเลิกจ้างด้วยวาจาเท่านั้นให้บันทึกเสียงไว้เลย และไม่ต้องกลัวว่าเทปบันทึกเสียงนั้นจะใช้ไม่ได้เพราะ คดีแรงงานเป็นคดีแพ่ง แล้วไม่ได้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การตัดพยานตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- กรณีต่อมาอัดเทปไว้แล้วให้ทำเป็นอีเมลหรือจดหมายเลยว่าตามที่นายจ้างแจ้งเราไปเลิกจ้างด้วยวาจาเราสิ้นสุดการเป็นพนักงานตามที่นายจ้างแจ้งวันที่เท่าไหร่ เพื่อเป็นหลักฐานไว้
อย่างไรก็ตามในกรณีนี้นะคะน่าเห็นใจลูกจ้างมากๆนายจ้างไม่น่าใช้วิธีนี้ น่าจะเรียกมาพูดคุยตกลงกันดีๆ ค่าชดเชย แม้กฎหมายกำหนดอัตราไว้ แต่ถ้าขาดสภาพคล่อง ไม่มีเงิน ก็พยายามไกล่เกลี่ยและตกลงกันให้ได้เรายังเชื่อว่าวิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยมันดีมากกว่าการมาใช้วิธี แบบนี้นอกจาก นายจ้างจะเสียค่าชดเชยค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ยังเสียชื่อเสียงทางธุรกิจด้วย
————- 💙
ติดต่องานจ้าง
✅ คดีความ
✅ ที่ปรึกษากฎหมาย
✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
✅VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า