กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานทำงานล่วงเวลาต้องจ่ายเป็น “เงิน” เท่านั้น ตกลงให้วันหยุดแทนการจ่ายเงินไม่ได้

5 September 2021

คำถามดีมีประเด็นวันนี้เป็นเรื่องของความอึดอัดใจที่ นายจ้างไม่ให้ค่าทำงานล่วงเวลาแต่ให้เป็นวันหยุดแทน ซึ่งมีคำถาม 2 ประเด็นคือ

1.นายจ้างไม่ให้ค่าล่วงเวลาเป็นเงิน แต่จะให้เป็นวันหยุดได้หรือไม่

2.ถ้าเกิดนายจ้างไม่ให้ค่าล่วงเวลาเป็นเงินทำอย่างไรได้บ้าง

ประเด็นแรกก่อน

นายจ้างไม่ให้ค่าล่วงเวลาเป็นเงิน แต่จะให้เป็นวันหยุดไม่ได้ เพราะตามความในมาตรา 5 แห่งพรบคุ้มครองแรงงานกำหนดว่า “ค่าล่วงเวลา หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน”

 

ข้อสังเกตุ : แต่ในปัจจุบันเราจะเห็นหลายบริษัทที่ ให้ค่าล่วงเวลาเป็นวันหยุดแทนและไม่มีการฟ้องร้อง ซึ่งที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่า ลูกจ้างพอใจหรือไม่มีประเด็นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ตามหลักกฎหมายแล้ว ค่าล่วงเวลาก็ต้องจ่ายเป็นเงิน หากมีลูกจ้างคนใดคนหนึ่ง ไม่ยอมรับค่าล่วงเวลาเป็นวันหยุดก็สามารถเรียกร้องได้ เพราะขัดกับกฎหมายไม่สามารถใช้บังคับได้

 

ประเด็นต่อมาคือในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย เงินประกัน หรืออื่นใดที่เป็นตัวเงิน และลูกจ้างมีความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้ถูกต้องตามพรบ.แรงงานฯ กำหนด ลูกจ้างมีสิทธิ ดังนี้

 

1.ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือท้องที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่

2.กรณีลูกจ้างถึงแก่ความตายให้ทายาทโดยธรรมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ ให้ลูกจ้างหรือทายาท แจ้งร้องทุกข์ด้วยตนเอง ที่สำนักงานฯ พร้อมเขียนแบบคำร้อง โดยเตรียมเอกสารและข้อมูล โดยดูได้จาก : http://area3.labour.go.th

 

โดยพนักตรวจแรงงานจะดำเนินการรับเรื่อง ออกหมายเรียก และมีคำสั่งในเวลาดำเนินการไม่เกิน 60 วัน (พนักงานตรวจแรงงานขอขยายเวลาดำเนินการได้ ไม่เกิน 30 วัน)

หรือจะฟ้องร้องต่อศาลก็ได้

 

————- 💙

ติดต่องานจ้าง

✅ คดีความ

✅ ที่ปรึกษากฎหมาย

✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

✅VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th

และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ได้