ต้องยอมรับว่าในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงปีนี้ ตั้งแต่มีโรคระบาด อัตราความเครียดในการดำรงชีวิตก็สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวลในการทำงาน ภาระทางครอบครัว หรือเศรษฐกิจและการเมือง ทำให้หลายคนตกอยู่ในภาวะเครียด ซึมเศร้า และวิตกกังวลจนพัฒนาไปสู่โรคภัย ที่ต้องได้รับการรักษา เช่นเดียวกันกับโรคอื่นๆ ทางกาย
ประเด็นของเราวันนี้จึงไม่ได้เป็นเรื่องของอาการป่วยไข้ทางกาย แต่เป็นอาการป่วยไข้ทางจิตเวช ว่าหากลูกจ้างมีอาการป่วยไข้ทางจิตเวช ยังสามารถลาได้ตามมาตรา 32 และมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามมาตรา 57 แห่งพรบคุ้มครองแรงงานหรือไม่
ประเด็นนี้คลินิกกฎหมายแรงงานของเรามีความเห็นดังนี้
โรคซึมเศร้า โรคเครียด โรควิตกกังวล นี่ก็เป็นอาการป่วยไข้ชนิดหนึ่งที่สมัยก่อนถูกมองว่าเป็นอาการป่วยการเมือง แต่มาในยุคสมัยนี้ที่เราสามารถเข้าใจโรคซึมเศร้า โรคเครียด โรควิตกกังวล ได้มากขึ้น ว่าเป็นการป่วยไข้ทางจิตและสมควรต้องได้รับการรักษา ” ซึ่งหากแพทย์รับรองได้ว่าป่วยไข้จริง และควรหยุดเพื่อพักผ่อนชั่วขณะหนึ่ง” ก็น่าจะสามารถลาได้โดยยังได้รับค่าจ้าง โดยสามารถลาหยุดได้เท่าที่ป่วยจริง แต่มีสิทธิได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงาน ตามมาตรา 32 และมาตรา 57 พรบ.คุ้มครองแรงงาน
ความเห็นเรานะคะ จากที่เคยเห็นเพื่อนเป็นโรคซึมเศร้าและต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ การเจ็บป่วยของสภาพจิตใจนี้ ไม่แพ้ทางกาย เพราะเมื่อเกิดอาการซึมเศร้านานๆก็อาจจะมีผลต่อเคมีในสมอง ผู้ป่วยต้องกินยาและได้รับความเข้าใจ ดังนั้นหากมีใครใกล้ตัวที่เป็นโรคนี้อยู่ก็พยายามทำความเข้าใจกันให้มากๆนะคะ
อ้อ.!! มีข้อสังเกตนิดนึงนะ อย่าลืมในกรณีเป็นการป่วยไข้ จนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานในจ้างก็สามารถเลิกจ้างได้เพียงแต่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงานที่ทำมา
————- 💙
ติดต่องานจ้าง
✅ คดีความ
✅ ที่ปรึกษากฎหมาย
✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
✅VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า