นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจา ลูกจ้างจึงไม่มาทำงาน แต่นายจ้างกลับปลอมหนังสือลาออกของลูกจ้าง เช่นนี้ผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร
คลินิกกฎหมายแรงงานขอให้ความเห็นดังนี้
1.การที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายแล้ว เพราะ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง ไม่ได้บัญญัติว่าการเลิกจ้างต้องกระทำเป็นหนังสือ (อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5933/2550)
2.การลาออกต้องเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างโดยลูกจ้าง ไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร ขอบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานกับนายจ้าง มีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นอันสิ้นสุดลง (คำพิพากษาฎีกาที่6048-6051/2546) แต่การที่นายจ้างปลอมหนังสือลาออกของลูกจ้าง ไม่มีผลบังคับ เพราะไม่ใช่การแสดงเจตนาลาออกของลูกจ้าง
3.การที่นายจ้างปลอมหนังสือลาออกของลูกจ้าง เป็นการกระทำความฐานปลอมเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สรุป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย รวมถึงอาจจะต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย นอกจากนี้ยังต้องรับโทษทางอาญาอีกด้วย
————-
ติดต่องานจ้าง
คดีความ
ที่ปรึกษากฎหมาย
ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า