วันก่อนเห็นคำถามดีมีประเด็นแว๊บแว๊บว่า นายจ้าง ปรับปรุงระเบียบข้อบังคับบริษัทจำเป็นจะต้องให้ลูกจ้างให้ความยินยอมก่อนหรือไม่
คลินิกกฎหมายแรงงานขอให้ความเห็นดังนี้
1.ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างจัดให้มีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ดังนั้น หากจำเลย
ประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จำเลยจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หรือมิฉะนั้นจำเลยจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลงกัน หรือหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของ พ.ร.บ. ดังกล่าว
ดังนั้นจึง สรุปได้เป็น 2 ประเด็นเป็นภาษาง่ายๆคือ
1.นายจ้างสามารถแก้ไขได้ หากว่าการแก้ไขระเบียบข้อบังคับหรือสภาพการจ้างนั้นเป็นคุณกับลูกจ้างมากยิ่งขึ้น
2.หากนายจ้างแก้ไข แต่ตรงกันข้ามกับ ข้อที่ 1 กล่าวคือเป็นการแก้ไขให้กฎระเบียบข้อบังคับหรือสภาพการจ้างนั้น ” ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด” แบบนี้ไม่ต้องพูดถึงความยินยอมเลยค่ะ (เพราะข้อบังคับนั้นเป็นโมฆะมาตั้งแต่ต้นโมฆะก็คือใช้ไม่ได้ถือเสมือนหนึ่งว่าไม่มี)
จากข้อกฎหมายข้างต้นจะเห็นได้ว่าไม่ใช่นายจ้างสามารถเปลี่ยนแปลงระเบียบข้อบังคับการทำงานได้ตามใจชอบนะคะ กฎหมายก็ให้กรอบแห่งการกระทำไว้เช่นกันดังนั้นปัญหาปัจจุบันนี้ จะไม่ใช่เป็นเพียงแต่ปัญหากฎหมายแต่เป็นปัญหาถึงโครงสร้างเศรษฐกิจและอำนาจการต่อรองทางเศรษฐกิจต่างหากเพราะลูกจ้างบางคนก็ทราบในข้อนี้แต่ก็ต้องทนทำงานต่อไป
————- 💙
ติดต่องานขอทราบค่าบริการ
✅คดีความ
✅ที่ปรึกษากฎหมาย
✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
✅VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า