กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานเลิกจ้างเพราะติด COVID ต้องจ่ายค่าชดเชย

25 July 2021

ลูกจ้างติดโควิด ลูกจ้างมีสิทธิอะไรบ้าง นายจ้างจะอาศัยเหตุดังกล่าวเลิกจ้างได้หรือไม่

 

คลินิกกฎหมายแรงงาน ขอให้ความเห็นดังนี้

 

1.ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้ ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 32 กำหนดไว้ว่า “ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบัน.. และตามมาตรา 57 นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างในวันที่ลาป่วยเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลาป่วย แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวัน”

 

2.ส่วนนายจ้างจะอาศัยเหตุดังกล่าว เลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้ เพราะการเจ็บป่วยไม่ใช่เหตุตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 119 ที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ดังนั้น นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง นอกจากนี้หากนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าหรือบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ชอบโดยกฎหมาย นายจ้างต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย

 

ประเด็นว่า การเลิกจ้างเพราะลูกจากติดโควิดเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่ ประเด็นนี้ มีความเห็นว่า เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าลูกจ้างมีสภาพร่างกายไม่พร้อมปฏิบัติหน้าที่ หรือลาป่วยบ่อยเป็นอาจิณ จึงถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

 

แต่อย่างไรก็ตาม หากการลาป่วยจำนวนมากหลายวัน และลาป่วยบ่อยแสดงว่า ลูกจ้างมีสภาพร่างกายไม่พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ ทั้งการลาป่วยบางครั้งลูกจ้างมิได้ป่วยจริง เป็นการลาป่วยเท็จและจงใจละทิ้งหน้าที่การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวจึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม”

ดังนั้น การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุการหย่อนสมรรถภาพในการทำงานดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม (คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 1836/2561)

————- 💙

ติดต่องานจ้าง / ใช้บริการ

✅ คดีความ

✅ ที่ปรึกษากฎหมาย

✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

✅VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th

และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า