“ข้ามิได้พึงใจในรสชาติสุรา แต่ข้าพึงใจในบรรยากาศของการร่ำสุรา..”
นี่เป็นประโยคที่เรามักจะยกมาอ้างกับเด็จแม่ ในวันที่มีนัดไปดริ๊งกิ๊งกับเพื่อน ..ว่าแท้จริงแล้ว เราไม่ได้อยากไปดื่ม ไม่ชอบดื่มเล้ยย.. แต่อยากไปเสพบรรยากาศในการร่ำสุรากับเพื่อนรู้ใจมากกว่า…(แม่ต้องเข้าใจหนูด้วยนะ)
แต่ไม่ว่าจะยกคำโกวเล้งมากี่ครั้งแม่ก็เตือนเสมอว่าอะไรมากไป ก็เกินพอดี #การร่ำสุราก็เช่นกัน อาจทำให้ตื่นสายไปไม่ไหว แฮงค์ และเสียงานเสียการได้ เช่นเดียวกับคำถามใน inbox จากแฟนเพจท่านนึงว่า
“ตนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง แต่ก็ไม่ได้ดื่มในเวลางาน นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ด้วยเหรอ..มีสิทธิได้รับค่าชดเชยมั้ย?? ”
คลินิกกฎหมายแรงงานขอตอบดังนี้
อาการติดเหล้านั้น ขอแบ่งเป็น 2 ดังนี้
🥃กรณีที่ 1: ติดสุราเรื้อรังแบบที่ “ขณะทำงานไม่ได้ดื่ม” แต่อาการไม่ค่อยจะดี ไม่มีสมาธิ ไม่โฟกัส ประสิทธิภาพถดถอย แบบนี้ นายจ้างย่อมเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังได้ กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
**แต่ต้องจ่ายค่าชดเชย** ( ดูดีๆนะค่าชดเชยกับ ค่าเสียหายไม่เป็นทำเป็นคนละเรื่อง)
🥃 กรณีที่ 2 : ดื่มขณะทำงาน หรือดื่มตอนเวลาพักแล้วกลับมาทำงานต่อ ในกรณีแบบนี้ อาจเกิดความเสียหายแก่กิจการของนายจ้างและผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของนายจ้าง ดังนั้น นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้
**โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและการเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว**
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าในกรณีที่ 1 หรือกรณีที่ 2 ก็เกิดผลเสียแก่พูดดื่มทั้งสองกรณี ไม่ใช่แค่เรื่องงานแต่ยังรวมถึงเรื่องสุขภาพ และอาจมีเรื่องอื่นๆเป็นผลพวงตามมาจากการดื่มที่มากเกินไปด้วย ดังนั้นดื่มแต่พอดี ซอฟๆไม่ต้องถี่ ให้มีสติและมีสไตล์นะทุกคน..
ว่าแต่.. เย็นนี้ไปไหนกันอ่ะ 🤪🤪🤪
ขอชนแก้วล่วงหน้าเลยนะ…. เอ้าชนนนน🥃
———— 💙
ติดต่องานขอทราบค่าบริการ
💬คดีความ
💬ที่ปรึกษากฎหมาย
💬ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
💬งานบรรยาย
💬 VISA &WORK PERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง Labour.clinique@gmail.com ได้นะ