กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานลูกจ้างไปปาร์ตี้กินเหล้าและติดโควิด นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างได้หรือป่าว

25 July 2021

ต้องขออภัยที่วันนี้ไม่มีรูปการ์ตูนน่ารักๆ เพราะทนายผู้เขียนประจำวันนี้ ป่วย งีบหลับไป ทำรูปไม่ทัน แต่หวังว่าจะให้อภัย เพราะแม้ไม่มีรูปน่ารักแต่คนเขียนน่ารักก็เพียงพอแล้ว 😆

คำถามนี้ดีมีประเด็น และที่สำคัญ มีหลายประเด็นเลยในคำถามเดียว จึงขอแยกประเด็น มาอธิบายให้ฟัง ดังนี้

1.หากพนักงานไม่ได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนตาม พรบ.ฉุกเฉินหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่ติดโควิด พนักงานก็ยังมีสิทธิ์ ใช้วันลาป่วยได้เท่าจำนวนวันที่ป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงาน ( พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 32) ดังนั้น การที่พนักงานติด covid แล้วบริษัทจะไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่สามารถทำได้

 

2.กรณีบริษัทประกาศห้ามไม่ให้พนักงานกระทำการกระทำใดที่มีความเสี่ยง หรือห้ามเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงสามารถประกาศบังคับใช้ได้หรือไม่

ประเด็นนี้ ทนายมีความเห็นว่า การที่นายจ้างจัดทำประกาศเรื่องการควบคุมโรค โดยสั่งห้ามไม่ให้ลูกจ้างเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงภัย และให้ประกาศดังกล่าวมีสภาพบังคับ กล่าวคือ ในเนื้อหาประกาศระบุว่าหากลูกฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษทางวินัย

ทนายมีความเห็นว่า การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นเพื่อความปลอดภัยจากโรคระบาด นายจ้างมีสิทธิที่จะออกคำสั่งได้ ถือว่าเป็นคำสั่งชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม หากเป็นกรณีร้ายแรง นายจ้างก็อาจจะเลิกจ้างได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 119(4) “ ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วเว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน” โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

 

     ประเด็นต่อมา กรณีพนักงานยังคงฝ่าฝืนบริษัทไม่จ่ายค่าจ้างได้หรือไม่??

อันนี้ชัดเจนนะคะว่า ” ไม่จ่ายค่าจ้างไม่ได้ ” สำหรับวันที่ทำงานไปแล้วยังไงก็ต้องจ่ายค่าจ้างการไม่จ่ายค่าจ้างกับเรื่องเลิกจ้างเป็นคนละเรื่องกันอย่าเอามาปนนะคะ

 

————- 💙

ติดต่องานจ้าง

✅ คดีความ

✅ ที่ปรึกษากฎหมาย

✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

✅VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th

และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า