คำถามดีคือ Content ทำให้เราสามารถทำสาระดีๆ เพื่อเป็นความรู้ได้ โดยคำถามวันนี้คัดเลือกมาจากแฟนเพจท่านนึง
ซึ่งมีคำถามตามภาพ แม้ว่าจะถามมาเพียงไม่กี่บรรทัด แต่ประเด็นตอบไม่ใช่แค่ประเด็นเดียวค่ะ
ตามคำถามดังกล่าวมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงานดังนี้
ประเด็นที่ 1 : เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ตำแหน่งจากฝ่ายผลิตเป็นพนักงานส่งเอกสารย่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง โดยหลักกฎหมายแล้วจะทำไม่ได้หากลูกจ้างไม่ยินยอม รายละเอียดไปอ่าน โพสต์นี้
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=269413677970241&id=100831634828447
(ในช่วงนี้ก็เข้าใจนะคะว่า อะไรช่วยได้ก็ช่วยกัน ถ้านายจ้างและลูกจ้างต้องเห็นใจกันทั้งสองฝ่าย ดังนั้นเสนอว่าให้ปรับความเข้าใจกันดีๆไม่ใช้อำนาจในการบริหารงานเกินควร การสื่อสาร โดยไม่ใช้คำหยาบคาย และไม่ใช้อารมณ์ ดีกับทั้งสองฝ่ายค่ะ)
ประเด็นที่ 2 : ลูกจ้างมีสิทธิ์ปฏิเสธไม่ทำงานในพื้นที่เสี่ยงหรือมีความเสี่ยงได้หรือไม่ ถ้าไม่ไปนายจ้างมีสิทธิ์เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยหรือเปล่า
เรามีความเห็นแบบนี้ค่ะ
การขอความร่วมมือของรัฐบาล “ไม่ใช่คำสั่ง” ที่มีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย การที่บริษัทเอกชนไม่ได้ทำตามจึงไม่ผิดกฎหมาย
กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างมาปฏิบัติงานและไม่ได้ให้ความร่วมมือตามมาตรการรัฐนั้น ก็ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีความผิด หากลูกจ้างติดโควิดเนื่องจากต้องมาทำงานตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง นายจ้างไม่ต้องรับผิด ส่วนลูกจ้างจะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาอย่างไร ก็เป็นไปตามสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่ระบุในข้อบังคับของนายจ้าง รวมถึงมนุษยธรรมของนายจ้างแต่ละราย
เว้นแต่ในกรณีที่เป็นเขตพื้นที่มีความเสี่ยงสูง ห้ามเดินทางเข้า-ออก เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน และสามารถติดต่อประสานงานโดยวิธีอื่นได้ แต่นายจ้างยังยืนยันให้เดินทาง โดยไม่มีความจำเป็น ก็อาจถือเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ (การที่ลูกจ้างไม่ไป และทำงานให้เสร็จลุล่วงได้โดยวิธีอื่นก็ไม่ถือว่าขัดคำสั่ง)
ดังนั้นจากคำถามที่ถามมา โดยแจ้งว่าลักษณะงานสามารถทำที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปบริษัทนั้น ลูกจ้างอาจจะไม่สามารถประเมินได้ด้วยความเห็นตนเองเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะต้องดูบริบทการติดต่อหรือประสานงาน ในการทำงานด้วย
ส่วนทางนายจ้างเองอาจจะพิจารณาหา แนวทางการดำเนินงาน หรือติดต่อประสานงานใหม่ๆเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ด้วย
จบแล้วสำหรับคำถามนี้นะคะดังนั้นใครที่ถามมาหรือเจอปัญหาแบบนี้ ช่วยอ่านให้จบด้วยเพราะทนายตั้งใจตอบมากๆ เพราะหวังว่าทุกคนทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะรู้ถึงสิทธิหน้าที่ของตนเอง
ส่วนใครที่อ่านไม่เกิน 8 บรรทัดแล้วบอกว่าช่วยสรุปให้สั้นอีกหน่อย หรือให้เขียนแบบย่อๆ เดี๋ยวเราส่งเลขพร้อมเพลย์ให้ โอนมาเล๊ยยย
แล้วจากนั้นจะโทรอธิบายให้ฟังแบบย่อสั้น ย่อยาว ร้อยแก้วร้อยกรอง จัดให้ได้หมดแหละ😆
————- 💙
✅ ติดต่องานจ้าง / ใช้บริการ
✅ คดีความ
✅ ที่ปรึกษากฎหมาย
✅ ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
✅ งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
✅ VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า