กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานหนังสือเตือนต้องออกโดยผู้มีอำนาจ ไม่ใช่นั้นไม่มีผลเป็นการเตือน

25 July 2021

อย่างที่เพื่อนๆทราบกันดีว่านอกจากหนังสือเตือนจะต้อง มีการบรรยายรายละเอียดการกระทำความผิด และมีการห้ามทำผิดซ้ำคำเตือนเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ข้อสำคัญอีกข้อหนึ่งคือ “ผู้ออกหนังสือเตือนยังจะต้องเป็นผู้มีอำนาจอีกด้วย”

 

โดยผู้มีอำนาจนี้หลายๆคนยังเข้าใจผิดกันอยู่ว่าหัวหน้างานทุกคน คือผู้มีอำนาจในการออกหนังสือเตือนซึ่งความเข้าใจดังกล่าวก็”ไม่ผิดแต่ก็อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมดครับ” 🤓

 

กล่าวคือผู้ที่มีสิทธิ์ออกหนังสือเตือน ต้องเป็นนายจ้าง หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้กระทำกานแทนนายจ้าง ตัวอย่างในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล ก็จะหมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทน

 

ประเด็นปัญหาถัดมาคือ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าหัวหน้างานของเรามีอำนาจในการออกหนังสือเตือนหรือไม่?

 

คลินิกกฎหมายแรงงานแนะนำดังนี้ครับ 🤓

 

  1. หากมีการกระทำความผิดและได้รับหนังสือเตือน อาจจะต้องดูระเบียบปฏิบัติขององค์กรว่าโดยปกติแผนกไหนฝ่ายไหนเป็นผู้มีอำนาจออกหนังสือเตือน เช่น ในหลายบริษัทที่หัวหน้าแผนกมีการแนะนำตักเตือนในการทำงานตามปกติ ฃแต่เมื่อมีความผิดเกี่ยวกับความผิดทางวินัยหรือความผิดใดๆที่ต้องมีการเตือนก็จะให้ฝ่าย hr ซึ่งเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจ เป็นผู้ออกหนังสือเตือนโดยตรง

 

  1. หากปรากฏว่า หัวหน้าผู้บังคับบัญชาเรามีหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงาน “แต่ไม่มีอำนาจในการออกหนังสือเตือน หนังสือเตือนดังกล่าวก็ไม่มีผลตามกฎหมายครับ” (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2526 พนักงานในตำแหน่งหัวหน้าแผนกหรือผู้ช่วยผู้จัดการถ้าไม่ได้รับมอบอำนาจจากนายจ้างหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลแล้ว ไม่มีอำนาจออกหนังสือเตือน)

 

  1. เมื่อตรวจสอบแล้ว ก็ใช่ว่าจะเบาใจได้นะครับหากการกระทำของเราเป็นการกระทำซึ่งมีความผิดจริง หัวหน้าของเราอาจจะนำหนังสือเตือนดังกล่าวไปให้ผู้มีอำนาจลงนามรับทราบหรือให้สัตยาบัน และเรียกเรามาตักเตือนอีกครั้ง เช่นนั้นหนังสือเตือนก็จะมีผลตามกฎหมายครับ

 

อ่านมาถึงตรงนี้บางคนอาจจะยังสงสัยว่า ต่อให้หัวหน้างานไม่มีอำนาจเตือนแต่ถ้าถูกเตือนแล้วก็อาจถูกให้ออกอยู่ดี ซึ่งความคิดเห็นนี้ไม่ถูกต้องนะครับ

 

หลายครั้งที่ หนังสือเตือนไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะด้วยลักษณะของหนังสือที่ไม่มีองค์ประกอบการเตือนที่ครบถ้วนหรือด้วยผู้ลงนามในหนังสือไม่มีอำนาจในการเตือน หากนำหนังสือดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้าง ลูกจ้างก็สามารถฟ้องเรียกร้องเอาค่าตกใจ หรือค่าชดเชยได้ตามแต่กรณีครับ

 

รู้กฎหมายไว้ไม่เสียหาย หวังว่าจะนำไปเป็นข้อสังเกตุและปรับใช้กันนะครับ

————- 💙

ติดต่องานขอทราบค่าบริการ

💬คดีความ

💬ที่ปรึกษากฎหมาย

💬ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

💬งานบรรยาย

💬 VISA &WORK PERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง Labour.clinique@gmail.com ได้นะครับ