กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานหลักประกันการทำงาน หากเรียกเก็บมั่ว ไม่ถูกต้องตามกฎหมายมีโทษปรับหลักแสนเลยนะ..!!!

19 June 2021

ล่าสุดมีนายจ้างท่านนึงถามเข้ามาว่าหลักประกันเราสามารถเรียกเก็บในตำแหน่งไหนได้บ้างและมีเงื่อนไขการเรียกเก็บอย่างไร

คลินิกกฎหมายแรงงานเลยขอใช้โอกาสนี้อธิบายให้ทราบและนำไปปรับใช้โดยทั่วกันดังนี้ค่ะ

ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายจากการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ. 2551 ข้อ 4 กำหนดให้ลักษณะหรือสภาพของงานที่นายจ้างอาจเรียกหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายจากการทำงานได้ มีดังเน้!!

(1) งานสมุห์บัญชี

(2) งานพนักงานเก็บหรือจ่ายเงิน

(3) งานควบคุมหือรับผิดชอบเกี่ยวกับวัตถุมีค่า คือ เพชร พลอย เงิน ทองคำ ทองคำขาวและไข่มุก

(4) งานเฝ้าหรือดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้าง หรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของนายจ้าง

(5) งานติดตามหรือเร่งรัดหนี้สิน

(6) งานควบคุมหรือรับผิดชอบยานพาหนะ

(7) งานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการคลังสินค้า ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่าทรัพย์ ให้เช่าซื้อ ให้กู้ยืม รับฝากทรัพย์ รับจำนอง รับจำนำ รับประกันภัย รับโอนหรือรับจัดส่งเงินหรือการธนาคาร ทั้งนี้ เฉพาะลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมเงินหรือทรัพย์สินเพื่อการที่ว่านั้น

 

ส่วนเรียกเก็บนายจ้างจะเรียกหรือรับหลักประกันเงินสดได้ไม่เกิน 60 เท่า ของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ เช่น ลูกจ้างทำงานเป็นผู้ติดตามเร่งรัดหนี้สิน ได้เงินเดือนเดือนละ 27,000 บาท นายจ้างจะเรียกหลักประกันเงินสด ได้ไม่เกิน 54,000 บาท เป็นต้น

ที่นี้มาดูบทลงโทษกันบ้างในกรณีที่นายจ้างที่ฝ่าฝืนปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 10 ในเรื่องการกเรียกหรือรับการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายจากการทำงาน จะเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 144 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนเงินประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออกหรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุ จะต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี หากจงใจผิดนัดโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ทุกระยะ 7 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 9

 

อย่างไรก็ดี กรณีที่เงินประกันลดลง เนื่องจากนำไปชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างตามเงื่อนไขของการเรียกรับเงินประกัน หรือตามข้อตกลงหรือโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง นายจ้างอาจเรียกเงินประกันเพิ่มได้เท่ากับจำนวนที่ลดลงไปค่ะ

ทราบหลักเกณฑ์แล้วก็ลองนำไปปรับใช้กันดูนะคะ 😊

———— 💙

ติดต่องานขอทราบค่าบริการ

✅คดีความ

✅ที่ปรึกษากฎหมาย

✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

✅VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th

และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า