กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานหนังสือเตือนส่งทาง E-MAIL ก็ได้นะ มีผลทางกฎหมายเช่นกัน

19 June 2021

มาอีกแล้ววว เรียนรู้ถาษาอังกฤษควบคู่กฎหมายแรงงาน กับทนายหวาน ในเรื่อง หนังสือเตือนส่งทางอีเมล์ถือว่ามีผลทางกฎหมายแล้วหรือไม่??

 

The world has changed, everything has changed.

Currently, most of the interaction between employer and employee, whether communicating, ordering, and warning is via electronics. Therefore, there is an issue that…

“If a warning is sent via electronic, it will become legal effect as a warning letter?”

Labor Law Clinic would like to give our comment as follows:

The warning letter can be sent via e-mail but the element of it must be completed as required. The warning letter must contain facts about the misbehaviors of the employee, details of the employee’s violation of the work rules which are sufficient to inform his or her violation. In addition, it must be specified in the warning that if an employee commits a repeat offense, he or she will be disciplined or taken any action according to the work rules. (If you want to see more about the element of a warning letter, please follow this link https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=174435604134716&id=100831634828447)

An example of a warning by email having the same legal effect as the warning letter rendered by the Supreme Court in the Supreme Court Judgement No. 9873/2558 as follows:

In this case, even if the employer warns by electronic mail, it can be considered a written warning. As the letter specified that the performance of the employee was below the expectation required and the employee also fails to submit a sales report by stating Article 34(10) of Employer’s Regulation incompetence or inability to perform duties appropriately. Furthermore, it stated that if the employee not improved, necessary disciplinary measures will be taken. The wording of such a warning is considered a legitimate warning letter.

Therefore, the sending of electronic warning is practically the law if it contains the facts and employee’s behavior committing the disciplinary offense, details of employee violation or failure to comply with work rules or orders by the employer which is enough detail to make the employee aware of his or her violation. Moreover, it must be specified in the warning that if an employee commits a repeat offense, he or she will be disciplined. If all of these requirements are completed, whether sending this warning by e-mail or letter, it will have the identical effect under the law.

 

Note and Caution 📝

 

***The warning via e-mail must make sure that the employee has received such an e-mail, and also has already read and acknowledged the warning. It will accordingly result that the employee has been informed of the warning under the law. ***

In the event that the employer is not sure which email is used by the employee for communication, and is also afraid that such a warning may be invalid and not be informed by the employee, the employer should issue a warning letter instead then, summon the employee to discuss this matter together.

We hope this article will be helpful for all readers. Let’s try to apply it ka.

———- (แปล)​ -​———

 

.. โลกเปลี่ยนไป อะไรก็เปลี่ยนแปลง..

ทุกวันนี้การทำงานร่วมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างส่วนใหญ่ก็ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งติดต่อสื่อสาร สั่งงาน และการเตือน จึงมีประเด็นว่า…

“หากการส่งหนังสือเตือนทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีผลทางกฎหมาย เหมือนจดหมายเตือนหรือไม่”

คลินิกกฎหมายแรงงาน ให้ความเห็นดังนี้ค่ะ🤓

 

1.หนังสือเตือนจะส่งทางอีเมล์ก็ได้ แต่ต้องมีองค์ประกอบของการเตือนครบถ้วน โดยการเตือนเป็นหนังสือนั้นจะต้องประกอบไปด้วยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมที่่ลูกจ้างกระทำผิด รายละเอียดเกี่ยวกับการที่ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพียงพอที่จะทำให้ลูกจ้างทราบถึงการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของตน และ การเตือนว่าหากลูกจ้างกระทำความผิดซ้ำคำเตือนจะถูกลงโทษทางวินัย หรือดำเนินการอย่างใด (อยากดูองค์ประกอบเป็นข้อๆของหนังสือเตือนลองอ่านลิงค์นี้ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=174435604134716&id=100831634828447 )

ตัวอย่าง การเตือนด้วย email และมีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับหนังสือเตือนที่เป็นกระดาษ ปรากฏอยู่ใน ฎีกา 9873/2558 รายละเอียด ดังนี้

คดีนี้แม้นายจ้างจะเตือนด้วยจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ก็ถือว่าเป็นการเตือนเป็นหนังสือได้ เมื่อจดหมายดังกล่าวมีเนื้อหาว่าผลงานของลูกจ้างต่ำกว่าเป้าหมาย ไม่ส่งรายงานการขายโดยอ้างข้อบังคับของนายจ้างข้อ 34 (10) ไร้ความสามารถหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม และ ระบุว่าหากไม่ปรับปรุงจะใช้มาตรการทางวินัยที่จำเป็น ถ้อยคำในการเตือนดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือเตือนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

ดังนั้น การส่งหนังสือเตือนทางอิเล็กทรอนิกส์ก็มีผลในทางกฎหมาย หากมีลักษณะเป็นหนังสือเตือน คือ มีข้อเท็จจริงกับพฤติกรรมที่ลูกจ้างกระทำความผิดทางวินัย รายละเอียดเกี่ยวกับลูกจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ คำสั่งของนายจ้าง โดยมีรายละเพียงเพียงพอที่จะทำให้ลูกจ้างทราบว่าทำผิดวินัยเรื่องใด และการเตือนว่าลูกจ้างกระทำความผิดซ้ำคำเตือนจะถูกลงโทษทางวินัยนั้น ถือว่ามีองค์ประกอบครบถ้วน จะทางอีเมลหรือเป็นจดหมาย ก็มีผลเช่นเดียวกันค่ะ

 

ข้อสังเกตและข้อควรระวัง 📝

** การเตือนไปยังอีเมล์นั้นต้องเป็นที่ทราบได้แน่ชัดว่าลูกจ้างได้รับอีเมล ได้อ่าน และทราบคำเตือนดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว** จึงจะมีผลว่าลูกจ้างได้รับทราบการเตือนดัวกล่าวตามกฎหมายแล้ว

แต่หากนายจ้างไม่แน่ใจว่าลูกจ้างใช้อีเมลไหนเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสาร และเกรงว่าการเตือนจะไม่เป็นผล ลูกจ้างไม่ได้รับทราบ ก็ควรออกเป็นหนังสือเตือนที่เป็นลายลักษณ์อักษรและเรียกลูกจ้างมาทำความเข้าใจร่วมกันและออกใบเตือนนะคะ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านบ้าง ลองปรับใช้กันดูนะคะ 😊

———-💙

ติดต่องานขอทราบค่าบริการ

✅คดีความ

✅ที่ปรึกษากฎหมาย

✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

✅VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th

และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า