อำนาจการโยกย้ายตลอดจนการให้ความดีความชอบแก่ลูกจ้าง เป็นอำนาจการบริหารของนายจ้างที่จะกระทำได้ เพื่อให้กิจการของนายจ้างบรรลุผลและมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์แก่กิจการของนายจ้างมากที่สุด
แต่ใช่ว่าจะย้ายไปไหนอย่างไรก็ได้ เพราต้องมีหลักการในการโยกย้ายเปลี่ยนแปลง ดังนี้
- ตำแหน่งใหม่ต้องไม่ต่ำกว่าเดิม
- ค่าจ้างต้องไม่ต่ำกว่าเดิม
- ต้องกระทำด้วยความเป็นธรรม ซึ่งเป็นธรรมคือ พิจารณาจากโครงสร้างของนายจ้าง และพิจารณาจากลักษณะงาน เช่น หากเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์เป็นพิเศษ หรือเฉพาะทาง แล้วถ้าย้ายไปตำแหน่งที่ไม่ต้อง ใช้ความรู้ความสามารถพิเศษถือกว่าต่ำกว่าเดิม
- ต้องกระทำด้วยความเป็นธรรม ซึ่งการย้ายที่จะธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึง ความจำเป็นของนายจ้าง และความสุจริตของนายจ้าง
ดังนั้น หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ลูกจ้างมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง แต่ต้องย้ายไปสายงานที่ไม่เกี่ยวข้องเลย ค่าจ้างต่ำกว่าเดิม ไม่มีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน คำสั่งเช่นนี้ของนายจ้างอาจถือว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม ไม่มีผลบังคับแก่ลูกจ้าง
การที่ลูกจ้างปฏิเสธไม่ยอมทำงานในตำแหน่งใหม่ที่ต่ำกว่าเดิมจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ
หากนายจ้างจะเลิกจ้างด้วยเหตุผลนี้จะต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง
อีกทั้ง การถูกเลิกจ้างด้วยเหตุผลนี้ ยังถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม อ้างอิงตามคำพิพากษาฎีกาที่ 4030/2561
อย่างไรก็ดีในเคสที่ถามมานี้ ต้องไปดูข้อเท็จจริงโดยรวมว่าการย้ายตำแหน่งงาน เป็นไปตามหลักทั้ง 4 ข้อข้างต้นหรือไม่ เพราะบางรายที่มาปรึกษา ก็เล่าข้อเท็จจริงเป็นบางส่วนและเฉพาะแต่มุมมองของตน ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างเอง ประเมินผิดพลาดและฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย และผลก็จะตรงข้ามกับหลักกฎหมายและฎีกาดังกล่าวนะคะ
————- 💙
ติดต่องานขอทราบค่าบริการ
✅คดีความ
✅ที่ปรึกษากฎหมาย
✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
✅VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า ดูน้อยลง