กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานช่วงทดลองงานสามารถใช้สิทธิลา อะไรได้บ้าง

19 June 2021

สัญญากันไว้ว่าทุกวันพฤหัส ทนายหวานจะนำเสนอเกร็ดกฎหมายแรงงานในรูปแบบภาษาอังกฤษ มาให้เพื่อนๆได้อ่าน นำไปอธิบายกับเจ้านาย และปรับใช้กัน แต่เนื่องจากเมื่อวานลืมไปเลยว่าพฤหัส 😅😅😅 เลยขอมาทดแทนวันนี้แทนแล้วกันนะคะ

กับประเด็นที่ว่า ในช่วงเวลาทดลองงานมีสิทธิลาอะไรบ้าง??

As we have received many questions about probation period, therefore, we will talk about a probation period today. Firstly, the important thing that you need to know about probation period is the law has not provided about it. That is to say, it totally depends on an employer as a case may be. Even though the law has not provided about it, an employer normally prescribes 119 days as a probation period (avoiding of severance pay in case of termination) or some of employer continually extends a probation period without due date.

In regard of leave entitlement, an employee who is on the probation period shall be entitled as following:

 

  1. Sick leave: an employee who is on the probation period is entitled to sick leave as long as he or she is actually sick and also is entitled to receive his or her wages from the employer for not over thirty working days.

 

  1. Necessary business leave: an employee who is on the probation period is entitled to leave for necessary business for no less than three working days per year. For the rule of this leave, please see more at https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=300486538196288&id=100831634828447

 

  1. Vacation leave: an employee who is on the probation period or has worked for an uninterrupted period of one year, is entitled to annual holidays of not less than six Working Days in one year according to section 30 of Labor Protection Act. Notwithstanding, for the Employee who has not completed one year of service, the employer may set annual Holidays for the Employee on a pro rata basis (section 30 paragraph four of Labor Protection Act) for example, the employee shall be entitled to holiday leave after he or she has worked for 2 months.

 

  1. Maternity leave: section 43 of Labor Protection Act prescribed that an Employer shall not terminate the employment of a female Employee on the grounds of her pregnancy, thereby, the employee can take a maternity leave during the probation period. In addition, the employer cannot terminate the employment of such employee as well. (However, it is very difficult in practice to take a maternity leave for 98 days after the employee has worked for a month)

 

  1. Ordination leave: there is no ordination leave under the law. If any employee wishes to leave for ordination, he may take a leave for it in accordance with the rules and regulations of the employer. This leave is only upon a permission of the employer.

 

  1. Sterilization leave: an employee who is on the probation period is entitled to leave for sterilization with the full receipt of wages payment as a result of sterilization for a period determined and with a certificate issued by a first class physician.

 

The leave mentioned-above is an entitlement of employee under the law. Notwithstanding, every time of leave, an employee must aware that the employer may recognize the lack of readiness to work then, the failure of probation may be occurred latterly. Consequently, the employee must manage his or her leave cautiously.

 

💙——-แปล——–💙

แม้ว่ากฎหมายจะไม่ได้กำหนดเรื่องระยะเวลาทดลองงานไว้ ทุกๆบริษัทก็จะมีระยะเวลาทดลองงานกำหนดไว้อยู่บางบริษัทก็ 119 วัน บางบริษัท ก็ต่อระยะเวลาทดลองงานออกไปเรื่อยๆ มีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันไป และรวมถึง การกำหนดสิทธิ์ลาของพนักงานทดลองงานด้วย

ดังนั้นวันนี้เรามาเข้าใจกันให้ถูกต้องก่อนว่า พนักงานทดลองงาน มีสิทธิ์ลาอะไรตามกฎหมายบ้าง จะยกตัวอย่างบางส่วนสำคัญๆ ดังนี้

 

1.ลาป่วย : ลูกจ้างทดลองงาน มีสิทธิลาป่วย ได้ไม่ต้องรอผ่านทดลองงานก่อน สิทธิลาป่วยนั้นสามารถลาได้ตามวันที่ป่วยจริง แต่มีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างไมเกิน 30 วันทำงาน

2.ลากิจ : ลูกจ้างทดลองงานมีสิทธิ์ลากิจได้ ไม่น้อยกว่า 3 วัน ทำการ โดยไม่ต้องรอผ่านทดลองงานก่อน ส่วนการลากิจมีหลักเกณฑ์อย่างไรไปอ่านในโพสต์นี้ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=300486538196288&id=100831634828447

3.ลาพักร้อน : ลูกจ้างที่ยังไม่ผ่านทดลองงาน หรือทำงานไม่ครบ 1 ปียังไม่มีสิทธิ์โดยอ้างอิง ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 30 แต่อย่างไรก็ตาม แม้ลูกจ้างจะยังทำงานให้แก่นายจ้างไม่ครบ 1 ปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง โดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้ (มาตรา 30 วรรคท้าย) เช่นลูกจ้างทำงานครบ 2 เดือน ลูกจ้างมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 1 วัน เป็นต้น

4.ลาคลอด : กฎหมายแรงงานมาตรา 43 กำหนดไว้ว่าห้ามเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะตั้งครรภ์ ดังนั้น แม้ไม่ผ่านทดลองงานก็ลาคลอดได้ และไม่เป็นเหตุให้เลิกจ้าง (แต่ในทางปฏิบัติก็เป็นไปได้ยากมาก ที่มาทำงาน 1 เดือน แต่หลังจากนั้น ใช้สิทธิ์ลาคลอด 98 วัน ก็เป็นปัญหาในทางปฏิบัติเช่นกัน)

5.ลาบวช : กฎหมายคุ้มครองแรงงานมิได้กำหนดสิทธิในการลาเพื่ออุปสมบทไว้ ลูกจ้างซึ่งประสงค์จะลาอุปสมบทจึงลาได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างนั้น ดังนั้น ลาได้ถ้านายจ้างอนุญาต

6.ลาทำหมัน: สามารถลาได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในใบรับรองแพทย์ โดยได้รับค่าจ้างตลอดระยะเวลา

อย่างไรก็ดี ข้างต้นดังกล่าวเป็นเรื่องของสิทธิ์ตามกฎหมาย แต่แน่นอนว่าหากเราใช้สิทธิลาบ่อยๆ อาจทำให้ นายจ้างเล็งเห็นถึงความไม่พร้อมในการทำงานและส่งผลให้ ไม่ผ่านทดลองงาน ดังนั้น ลูกจ้างเองก็ต้องบริหารการลาดูดีๆนะคะ

—————-💙

ติดต่องานขอทราบค่าบริการ

✅ คดีความ

✅ ที่ปรึกษากฎหมาย

✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

✅VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th

และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยค่ะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า 😊