เอาแล้วไงในที่สุดก็มีลูกจ้างมาถามเรื่องนี้จนได้ว่าสิ่งที่นายจ้างกระทำสมควรแก่เหตุแล้วหรือไม่หรือสามารถฟ้องร้องเรื่องอะไรได้บ้างกับในกรณี ที่นายจ้างสามารถนำรูป ชื่อสกุลพนักงานที่ พ้นสภาพแล้ว ประกาศใน Facebook บริษัท
ในเรื่องดังกล่าวคลินิกกฎหมายแรงงานให้ความเห็นดังนี้ค่ะ
เรื่องนี้ต้องแบ่งประเด็นพิจารณาตามกรณีข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ว่านายจ้างโพสว่าอย่างไรแต่ในกรณีที่ปรึกษามานี้มีข้อความว่า ” นางสาว AAA ได้พ้นสภาพพนักงานในข้อหาส่อทุจริต โดยให้มีผลเลิกตั้งแต่วันที่….. เป็นต้นไป”
- หากเป็นกรณีเช่นนี้ ความเห็นเราคือ ” เขียนเช่นนั้นไม่ได้” เพราะอาจจะเข้าข่ายหมิ่นประมาท ต่อให้นางสาว AAA จะมีพฤติการณ์ไปในทางส่อทุจริตจริงก็ตาม (ใครเกิดคำถามในใจว่า แล้วถ้านางสาว AAA ผิดจริงยังเป็นหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องทราบก่อนว่าการหมิ่นประมาท คือ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ซึ่งการโพสต์ข้อความที่เป็นความผิดในข้อหาหมิ่นประมาทจะเป็นเรื่องเท็จหรือเรื่องจริงก็ได้..”
- หากบริษัทต้องการประกาศเพื่อให้ลูกค้ารับทราบและไม่หลงทำนิติกรรมหรือโอนเงินผิดไปให้พนักงานคนดังกล่าว ควรใช้ข้อความเท่าที่ชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนเอง เช่น นางสาว AAA พ้นสภาพแล้วตั้งแต่วันที่… เท่านั้น
>>ทราบแบบนี้แล้ว หากนายจ้างต้องการใช้สิทธิ์เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเองก็สามารถทำได้ แต่ต้องตรวจสอบถ้อยคำ ให้ชัดเจนและเป็นการป้องกันติดตามสมควร อย่าโพสต์เอาสะใจ มันอาจทำร้ายชีวิตใครมากกว่าที่คิด ในทางตรงกันข้ามหากพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างทุจริตและประสงค์ดำเนินคดีก็ให้ใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย อย่าใช้อารมณ์เพราะในกรณีที่ใช้อารมณ์จะมีแต่ความสูญเสียเกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย<<
———- 💙
ติดต่องานขอทราบค่าบริการ
💬คดีความ
💬ที่ปรึกษากฎหมายครับ
💬ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
💬งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
💬 VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง Labour.clinique@gmail.com