กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานแรงงานต่างด้าว MOU มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายหรือไม่

22 May 2021

ช่วงถามดีมีประเด็น วันนี้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว กรณีแรงงานนำเข้าตาม MOU ถือเป็นการจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามของมาตรา 118 หรือไม่ และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่

คำามข้างต้นพิจารณาดังนี้

1.MOU เป็นบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา รัฐบาลลาว และรัฐบาลของเมียนมาร์ ว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างงาน ซึ่งได้ตกลงเงื่อนไขการกลับและการส่งกลับไว้ใน MOU

 

2.MOU ” จึงมิใช่สัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน”

 

3.ส่วนจะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามมาตรา 118 วรรคสาม อันจะถือเป็นข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนั้น นายจ้างและลูกจ้างต้องทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง และต้องเป็นงานหนึ่งงานใดในสามประเภทงานซึ่ง เข้าข่ายตามมาตรา 118 วรรคสี่

 

4.หากปรากฏว่า แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาตามเงื่อนไขใน MOU ได้เข้ามาทำงานอันเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง แม้นายจ้างจะมีการจ้างลูกจ้างตามกำหนดระยะเวลาจ้างดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจถือเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจ้างแน่นอน อันจะเป็นเหตุให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ ทั้งนี้ตามมาตรา 118 วรรคสาม และมาตรา 118 วรรคสี่

 

🚩🚩 สรุป 🚩🚩 หากนายจ้างเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างที่เป็นแรงงานต่างด้าว

(อ้างอิงข้อหารือกองนิติการ ที่ รง 0504/00106 ลงวันที่ 13 มกราคม 2559)

สำหรับองค์กรได้ที่มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน ก็ต้องบริหารจัดการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อป้องกัน ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

———– 💙

ติดต่องานขอทราบค่าบริการ

✅ คดีความ

✅ ที่ปรึกษากฎหมายครับ

✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

✅VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง Labour.clinique@gmail.com ดูน้อยลง