นายจ้างไม่เข้าใจ ว่าทำไม ลาออกไม่บอกล่วงหน้า จึงหักเงินประกันไม่ได้ มาเอาคำอธิบายภาคภาษาอังกฤษจากทนายหวานไป เขียนเมลได้เลยจ้า
Today, the topic that we would like to share is about the security deposit for work. In the case that an employee does not give an advance notice of his/her termination of employment contract for 30 days in advance according to the rules of company, can the employer then seize the security deposit for work of such employee and not pay the wage due to his/her failure to complying with rules of company? Let’s find out!
1.Section 17 paragraph two of Labour Protection Act B.E. 2541 provided that “Where the period is not specified in the contract of employment, an Employer or an employee may terminate the contract by giving advance notice in writing to the other party at or before any due date of wage payment in order to take effect on the following due date of wage payment, with no requirement for advance notice of more than three months…”. Therefore, if the employee fails to give an advance notice for 30 days, it shall be deemed as just violation of the employer’s rules. The employer however has no lien over the wage of an employee in all respects. (Reference to the Supreme Court Judgement No.12429/2558)
2.According to Section 10 paragraph two, where the Employer demands or receives the security deposit or makes a guarantee contract with the employee to compensate for damage done by the Employee, when an employment is terminated by the Employer or the resignation is made by the Employee or the guarantee contract is expired, the Employer shall pay back the security thereof plus interests, if any, to the Employee within seven days from the date of termination of employment, or from the date of resignation, or from the expiry date of the guarantee contract, as the case may be. In the case that the employee resigns without prior notice, consequently under the law, the employer is obliged to pay wages for the period of time what the employee has worked, and also has an obligation to return the security deposit for work to the employee within 7 days.
————- คำแปล ————–
ถามดีมีประเด็นวันนี้เป็นเรื่องที่ นายจ้างยึดหลักประกันการทำงาน และไม่ยอมจ่ายเงินเดือน เพียงเพราะลูกจ้างไม่แจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วัน ตามข้อบังคับ สามารถทำได้หรือไม่
คลินิกกฎหมายแรงงาน ขออธิบายดังนี้
1.พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ 2541 มาตรา 17 วรรคสอง บัญญัติว่า “ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้าง โดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อเป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกิน 3 เดือน…”
หากลูกจ้างแจ้งลาออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า 30 วัน ก็เป็นเพียงการลาออกที่ผิดระเบียบวิธีปฏิบัติของนายจ้าง แต่นายจ้างไม่มีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างไว้ อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12429/2558
2.ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน หรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้าง เพื่อชดใช้ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้างหรือลูกจ้างลาออก หรือสัญญาประกันสิ้นอายุ ให้นายจ้างคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุแล้วแต่กรณี ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.10 วรรคสอง
>>ดังนั้น แม้ว่าลูกจ้างจะลาออกโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างตามระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงานได้ทำมาแล้ว และมีหน้าที่ต้องคืนหลักประกัน ให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน<<
————- 💙
ติดต่องานขอทราบค่าบริการ
✅คดีความ
✅ที่ปรึกษากฎหมาย
✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
✅VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
หากบทความนี้เป็นประโยชน์กับท่านใดบ้างสามารถแชร์เพื่อเป็นความรู้ได้เลยนะคะ และรบกวนใส่เครดิตให้เพจด้วยน้า
————- 💙
ติดต่องานขอทราบค่าบริการ
✅คดีความ
✅ที่ปรึกษากฎหมาย
✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
✅VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
หากบทความนี้เป็นประโยชน์กับท่านใดบ้างสามารถแชร์เพื่อเป็นความรู้ได้เลยนะคะ และรบกวนใส่เครดิตให้เพจด้วยน้า ดูน้อยลง