กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานหากนายจ้างลำเอียง ประเมินผลงานและลงโทษไม่เท่ากัน แบบนี้ถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่

11 May 2021

ประเด็นคำถามวันนี้มีอยู่ว่า เจ้านายประเมินผลลำเอียง และลงโทษก็ลำเอียง แบบนี้ถือว่าผิดกฎมายหรือไม่ และลูกจ้างสามารถทำอะไรได้บ้าง

ซึ่งจากคำถามมีแนวคำพิพากษาของศาลที่พอจะเทียบเคียงได้ ดังนี้

1.ลูกจ้างได้ทราบผลการประเมินแล้ว ซึ่งได้ค่อนข้างน้อย ทั้งที่ลูกจ้างเองคิดว่าจะต้องได้เยอะกว่านี้ เพราะตนเองตั้งใจทำงาน ไม่ขาดงานหรือมาสายเลย แต่ลูกจ้างไม่โต้แย้ง คัดค้าน จนนายจ้างขึ้นเงินเดือน พร้อมทั้งจ่ายโบนัสไปแล้ว

กรณีเช่นนี้ถือว่าลูกจ้างได้ยอมรับผลการประเมินแล้ว จะมาโต้แย้งคัดในภายหลังไม่ได้ และล่วงเลยเวลาที่จะโต้แย้งแล้ว

มาดูตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่ 13010/2558

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานประชุมปรึกษากันแล้วเห็นว่า ลูกจ้างลางาน มาสายบ่อย หัวหน้างานจึงประเมินให้อยู่ในระดับดีพอใช้ ลูกจ้างทราบผลการประเมินแล้วไม่ได้โต้แย้ง คัดค้าน ต่อมา นายจ้างได้นำผลการประมินมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจ่ายโบนัสโดยปรับลดโบนัสลง 3 % ของเงินเดือน ลูกจ้างไม่พอใจ จึงนำคดีไปสู่ศาล ศาลตัดสินว่า ลูกจ้างได้รับผลการประเมินเเล้วมิได้โต้แย้ง การประเมินของหัวหน้างานเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ไม่ได้กลั่นแกล้ง การประเมินจึงชอบแล้ว

ดังนั้น หากลูกจ้างเห็นว่า การประเมินเป็นไปโดยกลั่นแกล้ง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างจะต้องโต้แย้งคัดค้านทันทีหรือเร็วที่สุด โดยการโต้แย้งคัดค้านนั้นอาจจะทำเป็นหนังสือ ส่งอีเมล หรือโต้แย้งด้วยวาจาก็ได้เพียงแต่การโต้แย้งด้วยวาจา จะไม่มีหลักฐานเวลาคดีขึ้นสู่ศาลจะพิสูจน์ค่อนข้างยาก

 

2. นายจ้างทำการสืบสวนการกระทำความผิดทางวินัย ปรากฏว่ามีลูกจ้างหลายคนเข้าไปเกี่ยวข้องในการกระทำความผิด แต่ระดับความร้ายแรงของลูกจ้างแต่ละคนไม่เท่ากัน ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้ว่า การใช้ดุลพินิจในการลงโทษ เมื่อลูกจ้างกระทำผิด อำนาจในการพิจารณาโทษทางวินัย ย่อมเป็นของนายจ้าง ศาลจะเข้าไปตรวจสอบดุลพินิจได้ก็ต่อเมื่อนายจ้างใช้ดุลพินิจในการลงโทษไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่สุจริต กลั่นแกล้ง หรือไม่สมเหตุสมผลอย่างชัดแจ้งเท่านั้น

ตัวอย่างฎีกาที่ 2511/2559

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่า จำเลย(นายจ้าง)ใช้ดุลพินิจลงโทษโจทก์(ลูกจ้าง) ด้วยการให้ออกจากการเป็นพนักงานชอบหรือไม่ โดยโจทก์เห็นว่าจำเลยลงโทษพนักงานอื่นที่กระทำผิด เช่นเดียวกับโจทก์เพียงตักเตือนหรือตัดเงินเดือนซึ่งเป็นโทษสถานเบา การที่จำเลยลงโทษโจทก์โดยให้ออก เป็นการเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน ทำให้โจทก์ไม่ได้รับความเป็นธรรม เห็นว่า เมื่อพนักงานของจำเลยกระทำผิด อำนาจในการพิจารณาโทษทางวินัยย่อมเป็นของจำเลย ศาลแรงงานจะเข้าไปตรวจสอบดุลพินิจของจำเลยได้ก็ต่อเมื่อจำเลยใช้ดุลพินิจในการลงโทษไม่ชอบด้วย เป็นต้นว่า ขัดต่อระเบียบข้อบังคับอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ไม่สุจริต กลั่นแกล้ง หรือไม่สมเหตุสมผลอย่างชัดแจ้งและแม้พนักงานของจำเลย จะถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดในลักษณะเดียวกันก็ตาม แต่ถ้าพฤติการณ์ในการกระทำผิดของพนักงานแต่ละราย มีระดับความร้ายแรงแตกต่างกัน จำเลยก็ย่อมใช้ดุลพินิจลงโทษพนักงานแต่ละรายแตกต่างกันได้ หากไม่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลย

ดังนั้น ในการการะทำผิดหลาย นายจ้างอาจลงโทษไม่เท่ากันได้ โดยพิจารณาระดับความร้ายแรงของแต่ละคน หากลูกจ้างไม่เห็นด้วยก้ต้องทำการโต้แย้ง ใช้สิทธิ์อุทธรณ์ตามข้อบังคับ(ถ้ามี) หรือใช้สิทธิทางศาล แล้วแต่กรณี

————- 💙

ติดต่องานขอทราบค่าบริการ

✅คดีความ

✅ที่ปรึกษากฎหมาย

✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

✅VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th

และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า