เงินชดเชยกรณีเลิกจ้างกับเงินบอกกล่าวล่วงหน้า ถือเป็นค่าจ้างหรือไม่ และถ้าไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง นายจ้างสามารถหักเป็นค่าต่างๆได้ไหมจะไม่ขัดต่อ มาตรา 76 ?
จากคำถามตามภาพ คลินิกฎหมายแรงงานขอตอบดังนี้ 📝
1.ค่าชดเชย หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง (มาตรา 5)
2.ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า คือ เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง กรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบตามมาตรา 17 วรรคสอง เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับนับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผลตามมาตรา 17 วรรคสอง โดยให้จ่ายในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน (มาตรา 17/1)
3.ค่าจ้าง หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ(มาตรา 5)
จากหลักกฎหมายข้างต้น จะเห็นได้ว่า ค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างกรณีเลิกจ้างหรือเลิกสัญญาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
***ประเด็นต่อมา คือ เมื่อไม่ใช่ค่าจ้าง นายจ้างจะหักค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า เพื่อชำระหนี้สินต่างๆที่ลูกจ้างมีต่อนายจ้าง จะขัดกับมาตรา 76 หรือไม่ ***
ประเด็นนี้ มีแนวคำพิพากษาตัดสินไว้ว่า ค่าชดเชย มิได้ห้ามการหักกลบลบหนี้ไว้ ดังนั้น นายจ้างย่อมมีสิทธิหักค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เพื่อชำระหนี้เงินกู้ที่ลูกจ้างยืมไปจากนายจ้างได้ (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 199/2525 , 2681-2683/2545 )
📌📌สรุป นายจ้างสามารถหักค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าได้ ไม่ขัดกับ มาตรา 76 แต่อย่างใด 📌📌
————- 💙
ติดต่องานขอทราบค่าบริการ
✅คดีความ
✅ที่ปรึกษากฎหมาย
✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
✅VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า