กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานบังคับให้พนักงานยกค่าชดเชยให้กับบริษัท แบบนี้ก็ได้หรอ ?

7 May 2021

นายจ้างได้ออกหนังสือเลิกจ้างลูกจ้าง แล้วต่อมาออกหนังสืออีกฉบับนึง บังคับให้ลูกจ้างเซ็นไม่อย่างนั้นจะไม่ได้เงินค่าจ้างงวดสุดท้าย โดยมีใจความว่า  “.. ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแล้วและยินดีมอบเงินเหล่านั้นให้แก่บริษัท เพื่อตอบแทนบริษัท..”

อ่านแล้วแบบ ช็อคไปแป๊บนึง

เราทราบดีนะคะว่าในยุคนี้นายจ้างลำบากมากแค่ไหน ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เพราะเราเองอยู่ในฐานะลูกจ้าง และเราก็อยู่ในฐานะนายจ้างเช่นกัน แต่การที่นายจ้างจะบังคับให้เขาเซ็นโดยบอกว่าจ่ายค่าชดเชยแล้วแล้ว ลูกจ้างขอไม่รับแต่มอบเงินเหล่านี้ให้กับบริษัท มันไม่แฟร์เลย คุณมีภาระลูกจ้างก็มีภาระ ถ้าจ่ายไม่ไหว ก็ควรคุยกับเขาดีๆ เอาค่าใช้จ่ายมากางให้ดูเลย ค่อยๆขอความเห็นใจแล้วปิดจบไปทีละคน ไม่ใช่ใช้วิธีแบบนี้บอกตรงๆอ่านแล้วท้อใจ เสียใจ ทั้งกับเคสนี้ ที่มาปรึกษา และกับวิกฤตของประเทศที่เป็นอยู่ตอนนี้ …. เฮ้อ

หลังจากที่สงบสติอารมณ์แล้ว มาดูผลทางกฎหมายกันบ้าง ว่าถ้าหากลูกจ้างยอมเซ็นไปอะไรจะเกิดขึ้น โดยพิจารณา ดังนี้

  1. ในช่วงเวลาที่นายจ้างและลูกจ้างทำข้อบันทึกตกลงกันนั้น ลูกจ้างมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไรและลูกจ้างยังอยู่ในอำนาจหรือนายจ้างยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของลูกจ้างหรือไม่

ศึกษาจากคำพิพากษาฎีกาที่ 2409/2527 ที่ได้วินิจฉัยว่า ลูกจ้างทำหนังสือสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยไว้แก่นายจ้าง ต่อมาลูกจ้างไปฟ้องศาลแรงงานเรียกค่าชดเชยจากนายจ้าง นายจ้างต่อสู้คดีว่า ลูกจ้างทำหนังสือสละสิทธิค่าชดเชยไว้แล้ว จึงไม่มีสิทธิมาเรียกร้องอีก ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการจ่ายค่าชดเชยไว้เป็นหน้าที่ของนายจ้าง หากฝ่าฝืนนายจ้างมีความผิดทางอาญา ถือว่าเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย การที่ลูกจ้างทำหนังสือสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจึงไม่ทำให้สิทธิของ ลูกจ้างที่จะได้รับค่าชดเชยระงับไป

ดังนั้น หากลูกจ้างทำหนังสือสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยไว้แก่นายจ้างก่อนถูกเลิกจ้าง ไม่มีผลบังคับ เพราะลูกจ้างยังไม่เป็นอิสระจากนายจ้าง

  1. ถ้าลูกจ้างทำข้อตกลงหลังจากที่พ้นหน้าที่ลูกจ้างไปแล้ว ข้อตกลงนั้นใช้ได้ ไม่ขัดกฎหมาย

ศึกษาจากคำพิพากษาฎีกาที่ 367/2547 ที่ได้วินิจฉัยไว้ว่า ในหนังสือข้อตกลงพิเศษที่ลูกจ้างได้ทำไว้กับนายจ้างมีข้อความตอนท้ายว่าไม่มีข้อเรียกร้องใดเกิดก่อนวันที่ตกลงกัน ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยลงลายมือชื่อตกลงยอมรับภายหลังจากที่ลูกจ้างแสดงความประสงค์จะลาออกจากการเป็นลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างย่อมมีอิสระที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของตนเองได้ ข้อตกลงนี้มีผลใช้บังคับได้

ดังนั้น หากลูกจ้างทำหนังสือสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยไว้แก่นายจ้างหลังจากถูกเลิกจ้าง มีผลบังคับ เพราะลูกจ้างเป็นอิสระจากนายจ้างแล้ว

 

ในมุมนายจ้างเองไม่ใช่เราไม่เข้าใจนะโคตรเข้าใจเลยแหละ ทุกวงการ สายงานกระทบหมด ทุกวันนี้ก็ใช้ชีวิตอยู่บนความร้อนรน ทั้งเรื่องของเงินทอง เรื่องความกังวลว่าจะติดโควิดเมื่อไหร่ และพยายามช่วยเหลือตัวเองก่อน ช่วยเหลือจนไม่รู้จะช่วยยังไงแล้ว รัฐบาลก็ช่วยโชว์ประสิทธิภาพหน่อยเถอะ ขอร้อง

 

ไม่ใช่ทุกกิจการที่มีสายป่านยาว

ไม่ใช่ทุกธุรกิจสามารถ WFH ได้

ไม่ใช่ทุกคนจะแยกพื้นที่กักตัวได้

เข้าใจบ้างเถอะ

 

หลายธุรกิจก็พยายามกันมายื้อกันสุดๆแล้ว ถ้าเป็นคุณก็คือโคม่ามาหลายเดือนแล้ว ส่วนลูกจ้างบางคนก็ต้องยอม เสียเปรียบทั้งที่รู้อยู่เต็มอกว่าเขาไม่มีอำนาจต่อรองอะไรเลย แต่ไม่สามารถรอระยะเวลา กระบวนการพิจารณาคดีได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์เช่นนี้ศาลก็เลื่อนการพิจารณาไปทั้งหมด

 

อ่าน inbox ช่วงนี้แล้วไมเกรนขึ้น

ความเห็นอกเห็นใจเป็นพื้นฐานที่ทุกคนควรต้องมีนะคะฝากไว้ให้คิด

 

ทนายฝ้าย

คลินิกกฎหมายแรงงาน

————- 💙

ติดต่องานขอทราบค่าบริการ

✅คดีความ

✅ที่ปรึกษากฎหมาย

✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

✅VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th

และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า ดูน้อยลง