PDPA กำลังมา HR เลยต้องคิดหนัก
ทนายฝ้าย และดร.ชัชวาล เลยชวนกันหยิบยกปัญหาเกี่ยวกับการให้ความยินยอมต่างๆที่ HR ต้องเจอมาเล่าสู่กันฟัง ทั้งในมุมของนักกฎหมาย และนักพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร เพื่อให้ได้คำตอบที่มองได้ทั้งทางกำหมายและการใช้งานจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนนี้เพื่อนๆ HR หลายคนหวาดระแวงไปหมด ว่าถ้า PDPA บังคับใช้แล้ว อะไรออกได้ออกไม่ได้ อะไรต้องยินยอมก่อนหรือป่าว หวาดระแวงไปหมดแล้วจ้า
“ อย่าเพิ่งกังวลไป เดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังบ่อยๆนะคะ ส่วนวันนี้เริ่มจากประเด็นคำถามแรกที่ว่า ”
ทำหนังสือรับรองเงินเดือนให้พนักงานที่ลาออก ต้องขอความยินยอมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ ???
คำตอบคือ “ ทำได้ ไม่ต้องขออีก” เพราะเป็นการให้ความยินยอมในฐานของการปฏิบัติหรือหน้าที่ตามกฎหมาย (Legal Obligation) กล่าวคือ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 585 ประกอบมาตรา 14 ของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ก็บอกไว้ว่านายจ้างมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องออกหนังสือรับรองการผ่านงานให้ลูกจ้าง โดยหนังสือต้องระบุว่าลูกจ้างทำงานมานานเท่าไร งานที่ทำมีลักษณะอย่างไร หนังสือต้องออกในวันที่สัญญาจ้างสิ้นสุด และแม้ลูกจ้างจะถูกเลิกจ้างก็ตาม นายจ้างก็ไม่มีสิทธิระบุว่าลูกจ้างถูกเลิกจ้างเพราะเหตุอะไร หรือกรณีที่เป็นลูกจ้างทดลองงานที่ไม่ผ่านทดลองงานก็ต้องออกหนังสือรับรองการผ่านงานให้เช่นกัน
ออกหนังสือรับรองให้ เป็นหน้าที่ตามกฎหมายของนายจ้าง ไม่ต้องกังวลว่าจะออกไม่ได้ถ้าลูกจ้างไม่ให้ความยินยอม ขออย่างเดียวอย่าไปออกแบบด่าว่า ติเตียนใส่ความเห็นในการเลิกจ้าง หรือพฤติกรรมส่วนตัวลูกจ้างเป็นพอ เพราะกฎหมายกำหนดเพียงทำงานมานานเท่าไร งานที่ทำมีลักษณะอย่างไรเท่านั้นพอ อย่ามีน้ำใจเกินโดยการใส่รายละเอียดอื่นๆของลูกจ้างเข้าไป เช่น ความเห็นทางการเมืองของลูกจ้าง ลักษณะนิสัยไปยันพฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม อันนั้นไม่ต้อง และถ้ายังทำผิดกฎหมายแน่นอน
ส่วนใครอยากเข้าไปอ่านความรู้และสาระในด้านพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร สามารถเข้าไปอ่านโดยละเอียดได้ที่ @รอบรู้กฎหมายแรงงานและ PDPA
ส่วนใครกังวล PDPA อยู่ ไม่ต้องคิดมาก มีฝ้ายและดร.ชัชวาล อยู่ข้างๆ สบายใจได้
———- 💙
ติดต่องานขอทราบค่าบริการ
💬คดีความ
💬ที่ปรึกษากฎหมาย
💬ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
💬งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
💬 VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า 😊