กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานค่าภาษาและค่าตำแหน่งเป็นค่าจ้างหรือไม่ แล้วนำมาคำนวนเป็นฐานเงินเดือนเพื่อเรียกค่าชดเชยได้หรือป่าว

7 May 2021

มีคำถามจากลูกจ้างว่าตนเองถูกเลิกจ้าง โดยในกฎหมายกำหนดว่าค่าชดเชยจ่ายตามระยะเวลาการทำงาน โดยคำนวณตาม ค่าจ้าง เดือนสุดท้ายที่ได้รับ ตามมาตรา 118 ซึ่งในกรณีน้องที่ถามมาได้ค่าจ้างโดยแบ่งเป็นเงินเดือน 20,000 บาทค่าตำแหน่ง 3,000 บาทและค่าภาษาอีก 2,000 บาท ซึ่งเกิดคำถามว่าค่าตำแหน่งกับค่าภาษาเป็นค่าจ้างหรือไม่

            คลินิกกฎหมายแรงงาน ขอตอบแบบนี้ค่ะ

1.ค่าตำแหน่งที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างโดยแท้ แม้จะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม เงินดังกล่าวก็ไม่ถือเป็นค่าจ้างตามนิยามในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ทั้งนี้ เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2540

2.แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าบริษัทฯ ได้จ่ายเงินค่าตำแหน่งให้แก่ลูกจ้างเป็นการประจำ มีจำนวนแน่นอน และเป็นเงินที่ตกลงจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน และมิได้มีเจตนาจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้าง เงินดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นค่าจ้าง  (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095-5099/2539)

ดังนั้น หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าเงินค่าตำแหน่งเป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็น ค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ จึงถือเป็นค่าจ้างตามนิยามในมาตรา 5  แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงานฯ ซึ่งเมื่อเงินค่าตำแหน่งเป็นค่าจ้างแล้วย่อมต้องนำเงินดังกล่าวมาคิดคำนวณเป็นคำล่วงเวลา และค่าชดเชยโดยหลักการนี้ก็เช่นเดียวกันกับค่าภาษา โดยหากเป็นเงินที่แน่นอน และจ่ายประจำทุกเดือน และถ้าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ถือว่าเป็นค่าจ้างเช่นกันค่ะ

—————- 💙

ติดต่องานขอทราบค่าบริการ

✅คดีความ

✅ที่ปรึกษากฎหมาย

✅ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng

✅งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA

✅VISA & WORKPERMIT

สอบถามค่าบริการได้ทาง

Info@legalclinic.co.th

และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า ดูน้อยลง