” ห้ามน้ำไม่ให้ไหล ห้ามไฟไม่ให้มีควัน
ห้ามอาทิตย์ ห้ามดวงจันทร์
หยุดแค่นั้นค่อยห้ามดวงใจ “
หลายคนอ่านหัวข้อนี้แล้วคงกำลังสงสัยว่าบริษัทไหนกันน้อที่ออกกฎระเบียบแบบนี้และออกกฎระเบียบแบบนี้ไปเพื่ออะไรบังคับใช้ได้จริงหรือไม่วันนี้คลินิกกฎหมายแรงงานจะมาไขปัญหาข้อข้องใจกันค่ะ
1. ถ้าถามถึงวัตถุประสงค์ที่มาที่ไปเกี่ยวกับการออกกฎระเบียบนี้แล้ว เราคิดว่าส่วนหนึ่งคงเป็นเรื่องของ ธรรมาภิบาลและป้องกันการเอื้อประโยชน์ต่อกัน เช่น ถ้าพนักงานคบกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคนนึงเป็นระดับบริหารกับระดับปฏิบัติการ ก็อาจจะเกิดความลำเอียง ความไม่เท่าเทียม หรืออาจถูกมองว่าเอื้อประโยชน์แก่กันก็เป็นได้ หรือเลยเถิดไปถึงขั้นร่วมกันกระทำการทุจริตต่อบริษัท จึงเกิดเป็นที่มาของระเบียบเช่นว่านั้น
2.มาถึงประเด็นที่ว่าบังคับใช้ได้หรือไม่ เรามีความเห็นต่อกฎระเบียบข้อบังคับเช่นมีว่า ” ไม่สามารถใช้บังคับได้ ” หรือหากต้องการเลิกจ้างเนื่องด้วยเหตุดังกล่าว นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
3. เพราะการที่พนักงานแต่งงานกับคนในบริษัทเดียวกันไม่ได้เป็นความผิดตามพรบ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 119 หรือแม้แต่มีกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทว่า “ห้ามแต่งงาน หรือเป็นแฟนกับพนักงานในบริษัทเดียวกันหากพบจะถูกไล่ออก” ในความเห็นของเรา เรามองว่าเป็นข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมและไม่สมควรแก่เหตุ หากเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า (หากให้ออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า) รวมไปถึงอาจถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย
————-
ติดต่องานขอทราบค่าบริการ
คดีความ
ที่ปรึกษากฎหมาย
ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
และสำหรับท่านใดที่เห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ หรือนำไปอ้างอิงก็สามารถนำไปใช้ได้เลยนะคะ แต่ช่วยใส่ Link Page ต้นทางของคลินิกกฎหมายแรงงานให้ด้วยน้า