เป็นอีกคำถามที่ถามกันเข้ามาหลายท่าน ขอรวบมาตอบทีเดียวเลยเนอะ มาอ่านรายละเอียดกัน
1. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
“มาตรา 118/1 กำหนดว่า การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง
ในกรณีที่ “มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้” หรือ “มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี” ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้ โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนาและให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น ตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง”
2. จากตัวบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า หากไม่ได้มีการตกลงกันหรือกำหนดไว้หรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่า 60 ปี กฎหมายให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่อายุครบ 60 ปี สามารถที่จะแสดงเจตนาเพื่อขอเกษียณอายุได้เองโดยให้แจ้งแก่นายจ้างและให้มีผลเมื่อครบ 30วัน ในกรณีนี้ลูกจ้างยังคงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างเนื่องจากการเกษียณอายุ โดยไม่ถือว่าเป็นการลาออกจากงานของลูกจ้างนะคะ
ทราบกันแล้วลองปรับใช้กันดูน้า
สิ้นปีอากาศเย็น อย่าลืมรักษาสุขภาพกันนะคะ
ทั้งกายทั้งใจ เราต้องรอดผ่านปี 2020 ไปด้วยกันนะ 🤓