กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานนายจ้างให้ทำสัญญาค้ำประกันแบบไม่จำกัดความรับผิด..ได้หรือไม่

22 August 2020
นายจ้างเรียกหลักประกันแบบไม่จำกัดวงเงินรับผิด
สัญญาค้ำประกันเป็นโมฆะ บังคับใช้ไม่ได้

ในการทำงานทุกวันนี้ นายจ้างหลายท่านอาจมีการกำหนดให้มีการค้ำประกันไว้เพื่อเป็นหลักประกันกรณีที่ลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหาย แต่นายจ้างทราบหรือไม่ว่าในการค้ำประกัน หากกำหนดวงเงินค้ำ หรือเรียกการค้ำประกันมากเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด สัญญาค้ำประกันนั้นก็เป็นโมฆะนะคะ
โดยประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการท างานหรือ
หลักประกันความเสียหายในการท างานจากลูกจ้าง พ.ศ. 2551 ข้อ 10 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า วงเงินค้ำประกันที่นายจ้างเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดต้องไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ
ยกตัวอย่างเช่น นายเอลูกจ้างมีเงินเดือน 20,000 บาท เข้าทำงานกับบริษัท โดยในการทำงานนายเอได้ขอให้นายบีมาค้ำประกันการทำงานให้ โดยบริษัทก็นำแบบสัญญาค้ำมาให้บีลงนาม โดยกำหนดว่า หากนายเอทำความเสียหายไม่ว่าเท่าไหร่ก็ตาม นายบียอมรับผิดและชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท โดยต่อมานายเอทำผิดจริง ได้แอบเอาเงินบริษัทไปใช้ส่วนตัว เป็นเงินกว่า 300,000 บาท บริษัทจึงฟ้องขอให้นายบีรับผิดในเงิน 300,000 บาท
กรณีแบบนี้สัญญาค้ำประกันทำไว้ บังคับใช้ไม่ได้นะคะ เพราะกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันโดยการค้ำประกันด้วยบุคคล เป็นวงเงินเกินกว่า 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศที่กล่าวไปข้างต้น
(อ้างอิงคำพิพากษาศาล ฎีกาที่ 354/2561)
ดังนั้นเพื่อให้สิ่งที่ตกลงสัญญากันบังคับใช้ได้จริง จึงควรเข้าใจและกำหนดให้เป็นไปตามกฎหมายนะคะ
ส่วนใครไม่อยากจำหลักเกณฑ์ให้ยุ่งยากวุ่นวาย
ก็ไม่ต้องจำนะคะ จำแต่ชื่อเพจคลินิกกฎหมายแรงงานไว้เรียกใช้บริการก็พอ​ 😛
—————💙
ติดต่องานและสอบถามค่าบริการได้ทาง​
Labour.clinique@gmail.com