กรุณารอสักครู่

 

HomeCategoryกฎหมายอาญา Archives - บริษัท ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น จำกัด

ทายาทตามกฎหมาย มีใครบ้าง ?

ทายาทตามกฎหมายในการรับมรดก เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายแน่นอนว่าสิ่งที่ทายาทต้องทำ คือ จัดการทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท แต่ทายาทตามกฎหมายมีใครบ้าง วันนี้จะมาอธิบายให้ฟังดังนี้ค่ะ 1.ถ้าผู้ตายมีคู่สมรส ต้องดูว่าทรัพย์สินนั้น เป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส ถ้าเป็นสินสมรส จะต้องแบ่งให้คู่สมรสครึ่งหนึ่งก่อน และส่วนที่เหลือเป็น “ทรัพย์มรดก” ที่จะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม หรือ ผู้รับพินัยกรรม 2.ถ้ามีพินัยกรรม ต้องดูว่าผู้ตายได้ยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับพินัยกรรมเท่าใด หากยกให้ทั้งหมด ทายาทโดยธรรมจะไม่มีสิทธิได้รับมรดก แต่หากยกให้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะนำมาแบ่งแก่ทายาทโดยธรรมตามลำดับ 3.พิจารณาว่าใครบ้างที่เป็นทายาทโดยธรรม เพื่อที่จะทราบว่าใครบ้างที่เป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดก และได้รับในสัดส่วนเท่าใด โดยทายาทโดยธรรมมีทั้งหมด 6 ลำดับ ได้แก่ ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรบุญธรรม บุตรที่บิดารับรองโดยพฤตินัย) ลำดับที่ 2 บิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (ตามสายเลือด) ลำดับที่ 4 พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน ลำดับที่ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย (โดยชอบด้วยกฎหมาย) ลำดับที่ 6 ลุง...

ด่าว่า “ตอแหล” เป็นการดูหมิ่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ด่าว่า “ตอแหล” เป็นการดูหมิ่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท คำพิพากษาฎีกาที่ 8919/2552 การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอายการวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามสบประมาทผู้ที่ถูกกล่าว หรือเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว เมื่อตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายคำว่า “ตอแหล” ว่า เป็นคำด่าคนที่พูดเท็จ ซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าวต่อผู้เสียหายจึงเป็นการพูดด่าผู้เสียหาย เป็นการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่าเป็นคนพูดเท็จ จึงเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393

ด่าคนอื่นลงในกรุ๊ปไลน์ ผิดหมิ่นประมาท !!!

ด่าคนอื่นลงในกรุ๊ปไลน์ ผิดหมิ่นประมาท!!! การหมิ่นประมาท คือ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 โดยหลักเกณฑ์ คือ หากเราพิมพ์ต่อว่า กล่าวหา นินทาผู้อื่น พูดถึงในทางที่เสียหาย ทำเรื่องไม่ดี เช่น เป็นหนี้ เป็นชู้ เป็นคนโกง ลงในกรุ๊ปไลน์ที่มีบุคคลอื่นๆ อีกหลายคนเป็นบุคคลที่สามอยู่ในกรุ๊ปด้วย แม้ว่าข้อความที่เราพิมพ์ลงไปจะเป็นการกล่าวหาซึ่งไม่ใช่คำหยาบคาย ที่ไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม และการกล่าวหานั้นต้องเป็นการระบุตัวตนชัดเจนรู้ได้ทันทีว่าเราพูดถึงใคร แต่ก็ทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกเกลียดชังได้ เตือนนะเตือนนน อย่าใจร้อน พิมพ์ข้อความอะไรคิดดีๆก่อน พิมพ์ไม่ดีติดคุกได้นะจ๊ะ ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

“แจ้งความเท็จ” เพื่อแกล้งให้คนอื่นได้รับโทษ คนแจ้งติดคุกแน่!!!

“แจ้งความเท็จ” เพื่อแกล้งให้คนอื่นได้รับโทษ คนแจ้งติดคุกแน่!!! ความผิดฐานแจ้งความเท็จนั้น คือ การแจ้งข้อความที่เป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และยังมีบทเฉพาะมาตรา 172,173,174 ที่มีโทษหนักขึ้นสูงสุดผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท ที่เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้น การแจ้งความเท็จนั้น ผู้แจ้งต้องกระทำโดยเจตนา คือ ต้องรู้ข้อเท็จจริงว่าสิ่งที่แจ้งนั้นเป็นเท็จ ไม่มีเป็นความจริง อาจมีการกระทำด้วยการบอกกับเจ้าพนักงาน, ตอบคำถามเจ้าพนักงาน เช่น ให้การเท็จในฐานะเป็นพยาน, แจ้งโดยแสดงหลักฐาน มีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8611/2553 การที่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยเห็นโจทก์ร่วมหยิบเอาเศษสร้อยคอทองคำของจำเลยไปและไปและได้แจ้งความแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีโจทก์ร่วมในข้อหาลักทรัพย์ซึ่งเป็นข้อความอันเป็นเท็จ โดยจำเลยรู้ดีว่ามิได้มีการกระทำผิดในข้อหาลักทรัพย์เกิดขึ้น แต่กลับไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนดังกล่าวว่าได้มีการกระทำผิดข้อหาลักทรัพย์อันเป็นเท็จเพื่อให้พนักงานสอบสวนเชื่อว่าได้มีความผิดข้อหาลักทรัพย์เกิดขึ้น เพื่อให้โจทก์ร่วมได้รับโทษ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137, 174 วรรคสอง ประกอบมาตรา 173 นอกจากนี้ จำเลยยังมีเจตนายังมีเจตนาแจ้งความเพื่อให้โจทก์ร่วมถูกดูหมิ่นเกลียดชังและเสียชื่อเสียง จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมอีกด้วย ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

แม่ไม่อาจมอบอำนาจปกครองบุตรให้แก่พ่อที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส (บิดาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย)

แม่ไม่อาจมอบอำนาจปกครองบุตรให้แก่พ่อที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส (บิดาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2543 โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าเด็กชาย จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ดังนั้นอำนาจปกครองเด็กชาย จ. นั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง คือต้องอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็นบิดาตามความหมายของมาตรา 1566 ดังกล่าว การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยที่ให้เด็กชาย จ. อยู่ในความปกครองของจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันเป็นเหตุให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กชาย จ. ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของเด็กชาย จ. ให้อยู่กับตนตามมาตรา 1567 (1) ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบเด็กชาย จ. คืนจากจำเลยตามมาตรา 1567 (4) คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเพียงคำให้การแก้ฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเท่านั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมิใช่ข้อเท็จจริงที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องแย้ง...

พ่อแม่ของบุตรไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน (และไม่ได้มีการรับรองบุตรก่อนฟ้องคดี) แม้บุตรต้องการอยู่กับพ่อ ศาลไม่อาจสั่งให้บุตรอยู่กับพ่อได้ อำนาจปกครองเป็นของแม่เท่านั้น

พ่อแม่ของบุตรไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน (และไม่ได้มีการรับรองบุตรก่อนฟ้องคดี) แม้บุตรต้องการอยู่กับพ่อ ศาลไม่อาจสั่งให้บุตรอยู่กับพ่อได้ อำนาจปกครองเป็นของแม่เท่านั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407 / 2556 ถึงแม้พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ ซึ่งใช้บังคับวันที่ 22 พฤษภาคม 2554 กับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้วมีบทบัญญัติในหมวดการพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวให้ศาลคำนึงถึงสวัสดิภาพ อนาคตและประโยชน์สูงสุดของบุตรผู้เยาว์ประกอบดุลพินิจในการพิพากษาทำนองเดียวกัน แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวก็เป็นกฏหมายวิธีสบัญติที่กำหนดขั้นตอนแนวทางในการดำเนินคดีตลอดจนวิธีปฏิบัติในการพิจารณาพิพากษา เกี่ยวกับคดีเยาวชนและครอบครัวเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ระบุให้ศาลต้องฟังความประสงค์ของผู้เยาว์เป็นสำคัญว่าผู้เยาว์ประสงค์จะอยู่ในความปกครองของผู้ใด ในคดีครอบครัวที่พิพาทกันด้วยเรื่องอำนาจปกครองบุตร การใช้ดุลพินิจประกอบข้อวินิจฉัยประเด็นพิพาทเรื่องสิทธิและหน้าที่ของคู่ความในคดีครอบครัวว่ามีอย่างไรหรือไม่นั้นต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติที่บัญญัติไว้ โจทก์กับจำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแล้วจำเลยไม่ได้จดทะเบียนว่าผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรและยังไม่มีคำพิพากษาของศาลว่าผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฏหมายของจำเลย จำเลยจึงเป็นเพียงบิดามิชอบด้วยกฏหมายที่ไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง ส่วนโจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสองแต่เพียงผู้เดียว ด้วยเหตุที่ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1546 ทั้งนี้ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้สิทธิผู้ใช้อำนาจปกครองสละการใช้อำนาจปกครองให้ผู้อื่นได้ ทั้งอำนาจปกครองบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะที่จะตกอยู่แก่บิดาในกรณีมาตรา 1566  (5) (6) ก็มีได้เฉพาะผู้เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ถูกกีดกันขัดขวางไม่ให้รับผู้เยาว์ทั้งสองไปอยู่ด้วยแล้ว ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งกำหนดให้ผู้เยาว์ไปอยู่กับปู่และย่าซึ่งเป็นบิดาของจำเลย ทั้งที่โจทก์ยังมีชีวิตและไม่ได้ถูกถอนอำนาจปกครองจึงเป็นการไม่ถูกต้องด้วยข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 ติดต่อจ้าง Info@legalclinic.co.th

เจ้าของโครงการหมู่บ้านหรือคอนโดก่อสร้างล่าช้า ไม่เสร็จภายในกำหนด ผู้จองชำระเงินตามสัญญาล่าช้าได้ ไม่ถือว่าผู้จองผิดสัญญา

เจ้าของโครงการหมู่บ้านหรือคอนโดก่อสร้างล่าช้า ไม่เสร็จภายในกำหนด ผู้จองชำระเงินตามสัญญาล่าช้าได้ ไม่ถือว่าผู้จองผิดสัญญา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6327/2549 โจทก์มิได้ชำระเงินค่างวดตรงตามเวลาและครบถ้วนในกำหนดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ส่วนจำเลยก็มิได้สร้างบ้านให้แล้วเสร็จภายในกำหนดวันที่โจทก์ต้องชำระเงินค่างวดสุดท้ายและจำเลยตกลงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ จึงถือว่าต่างฝ่ายต่างมิได้ถือกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ ในสัญญาเป็นสาระสำคัญต่อไป หนี้ที่ต่างต้องชำระต่อกันจึงไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน ต่างฝ่ายย่อมเรียกอีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ได้โดยพลัน โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้อีกฝ่ายชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาที่กำหนดนั้นได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคแรก สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนและล่วงเลยกำหนดเวลาชำระหนี้มาแล้วประมาณ 10 เดือน ดังนั้นหนังสือบอกกล่าวของจำเลยที่ทวงถามให้โจทก์ชำระเงินค่างวดที่ค้างเพื่อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานั้น จำเลยจะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์ด้วยว่าจำเลยพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ด้วยโจทก์จึงมีสิทธิไม่ชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนนั้นได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 ข้อเท็จจริงปรากฎว่าจำเลยยังก่อสร้างบ้านไม่แล้วเสร็จในขณะที่มีหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้ค่างวดที่ค้าง จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะที่พร้อมจะขอปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนให้แก่โจทก์ได้ การที่โจทก์ไม่ชำระเงินค่างวดที่ค้างให้แก่จำเลย จึงไม่ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่โจทก์ชำระแล้ว ติดต่องาน info@legalclinic.co.th

รถที่เช่าซื้อถูกยักยอก ผู้เช่าซื้อซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถขณะเกิดเหตุถือเป็นผู้เสียหาย ผู้เช่าซื้อจึงมีอำนาจในการฟ้องร้องดำเนินคดีได้

รถที่เช่าซื้อถูกยักยอก ผู้เช่าซื้อซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถขณะเกิดเหตุถือเป็นผู้เสียหาย ผู้เช่าซื้อจึงมีอำนาจในการฟ้องร้องดำเนินคดีได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2565 จำเลยยักยอกรถยนต์ของบริษัท ต. จาก อ. โจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อ เมื่อในขณะเกิดเหตุกระทำความผิดโจทก์ร่วมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถที่เช่าซื้อ การกระทำของจำเลยย่อมทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายโดยตรง ดังนี้โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยและมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง  

การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากรับบุตรบุญธรรมโดยไม่จดทะเบียน จะถือว่าไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย

การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากรับบุตรบุญธรรมโดยไม่จดทะเบียน จะถือว่าไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2563 โจทก์ร่วมเป็นยายของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ มิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมซึ่งเป็นบุคคลที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (1) แม้ศาลเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมจดทะเบียนรับผู้เสียหายที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้จดทะเบียนรับผู้เสียหายที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรม การรับบุตรบุญธรรมของโจทก์ร่วมยังไม่สมบูรณ์และไม่มีผลตามกฎหมาย โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้รับบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/21 และมาตรา 1598/27   ติดต่องาน info@legalclinic.co.th   #นำสืบ #โมฆะ #รับรองบุตร #ประมวลกฎหมาย #findmylawyer #ทนายความ #มรดก #ฟ้องร้อง

มิจฉาชีพที่หลอกขายของ โดยที่ตนเองไม่มีสินค้าดังกล่าว มีความผิดอาญาฐานฉ้อโกง

มิจฉาชีพที่หลอกขายของ โดยที่ตนเองไม่มีสินค้าดังกล่าว มีความผิดอาญาฐานฉ้อโกง   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2559 ขณะจำเลยที่ 1 ทำหน้าที่เป็นนายหน้าเสนอขายข้าวสารโดยอ้างว่าเป็นของบริษัท ด. ขายให้ในราคาถูกจึงเป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมให้หลงเชื่อ เมื่อมีการโอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระค่าข้าวสารและจำเลยที่ 1 รับค่าข้าวสารด้วยตนเองด้วยจำนวนหนึ่ง แสดงว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ให้หลงเชื่อเพื่อให้ได้รับเงินค่าข้าวสารจากโจทก์ร่วม เป็นความผิดฐานฉ้อโกง   ติดต่องาน info@legalclinic.co.th   #หลอกลวง #ดำเนินคดี #คดีอาญา #อายุความ #ฟ้อง #ทนายความ #หมิ่นประมาท #หนี้สิน #ฟ้องร้อง