ค่าคอมมิชชั่น เป็นค่าจ้างหรือไม่?
ก่อนอื่นเราต้องทราบกันก่อนนะ ว่าค่าคอมมิชชั่นคืออะไร ค่าคอมมิชชั่นหรือเรียกง่ายๆว่าเงินรางวัลการขาย เช่น บริษัท A จ้าง นาง B เป็นพนักงานขายสินค้าหน้าร้านของบริษัท นาง B เป็นคนที่มีเทคนิคการเชียร์ขายสินค้าเก่งมากๆ เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาจึงทำให้มีลูกค้ามาซื้อสินค้าของบริษัทเป็นจำนวนมาก ทำให้ยอดขายของบริษัทพุ่งทะลุหลายล้านบาททางบริษัทจึงมีการตอบแทนผลงานการทำงานของนาง B ด้วยการจ่ายเงินรางวัลการขาย หรือที่เรียกกันว่า “ค่าคอมมิชชั่น” นั่นเอง
ส่วนค่าจ้างนั้น คือเงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลา หรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วยเช่นกัน
ดังนั้น ค่าคอมมิชชั่นจึงไม่ใช่ค่าจ้าง ตามมาตรา 5 พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533
อย่างที่ลูกจ้างหลายๆคนเข้าใจกันผิดนะคะเพราะค่าคอมมิชชั่นนั้นเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยต้องคำนวณตามผลงาน ตามยอดขาย
ฉะนั้น การกำหนดวิธีการจ่าย หรือการจะเรียกชื่อการจ่ายเงินเป็นอย่างไรไม่สำคัญเท่ากับว่า “นายจ้างเจตนาหรือมีวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการจ่ายนั้น” ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง หรือเพื่อช่วยเหลือหรือเป็นขวัญกำลังใจหรือเป็นสวัสดิการให้กับลูกจ้างในการตั้งใจปฏิบัติงานเท่านั้น โดยให้ดูที่วัตถุประสงค์ เงื่อนไข หรือหลักเกณฑ์ที่กำหนดและตกลงไว้ร่วมกันนะคะ
เราจะพามาดูตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา กรณี ไม่เป็นค่าจ้างกันเลยค่ะ
1.คำพิพากษาฎีกา ที่ 2625/2561 (เรื่อง “ค่าคอมมิชชั่น” “ค่ารักษาสินค้า” “ค่าตำแหน่ง”)
“ค่าคอมมิชชั่น” จ่ายให้เพื่อจูงใจให้ขายสินค้าได้จำนวนมากที่สุด “ค่ารักษาสินค้า” จ่ายเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างช่วยกันดูแลรักษาสินค้าไม่ให้สูญหาย “ค่าตำแหน่ง” กำหนดขึ้นเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่ลูกจ้างให้พัฒนาการบริการแก่ลูกค้าให้ดี เงินทั้ง3ประเภทนี้จึงไม่ใช่ค่าจ้างไม่นำมาคำนวณค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
2. คำพิพากษาฎีกา ที่ 3959/2561 (เรื่อง “ค่าคอมมิชชั่นและเงินรางวัลการขาย”)
“ค่าคอมมิชชั่นและเงินรางวัลการขาย” จะได้รับก็ต่อเมื่อทำยอดขายได้ตามที่นายจ้างกำหนด
หากทำได้ไม่ถึงก็จะได้ไม่ได้รับ “ค่าคอมมิชชั่นและเงินรางวัลการขาย”จึงเป็นเงินจูงใจให้พนักงานขายประกันทำยอดขายเพิ่มขึ้น ไม่ใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานจึงไม่เป็นค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533