“มาทำงานก็อาจไม่ได้ตังค์
ลาออกไปซะดีกว่า” พูดแบบนี้ถือว่าบีบออกหรือไม่?
ช่วงนี้มีคนเล่า พฤติการณ์ต่างๆให้ฟังเยอะมากว่าแบบนี้ถือว่าบีบออกหรือเปล่า ต้องขอเรียนตามตรงค่ะหลายๆครั้งคำว่าบีบออกไม่ได้ มีคำนิยาม ตายตัวตรงตัวเป๊ะๆตามกฎหมาย ว่าต้องทำอย่างไรจึงจะถือว่าบีบออก จึงต้องพิจารณา จากข้อเท็จจริงในแต่ละรายและแต่ละเรื่องไปที่สำคัญพิจารณาจากข้อมูลของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแต่ฝ่ายเดียวไม่ได้ จึงไม่สามารถตอบฟังธง เป๊ะ โช๊ะ โด๊ะ เด๊ะ ให้ท่านได้ในทันที ดั่งใจท่านหมาย เลยอาจจะสร้างความขุ่นข้องหมองใจให้แก่ท่านผู้สอบถามบ้าง แต่ก็ไม่ขออภัย เพราะไม่ได้ทำอะไรผิด
แต่เพราะว่าคำถามมันเป็นประโยชน์เลยขอเอามาตอบหน้าเพจโดยการเทียบเคียงกรณีต่างๆที่ลูกจ้างเข้าใจว่าเป็นการบีบออกแต่ศาลวินิจฉัยว่าไม่ใช่มาให้ท่านทั้งหลายฟัง เผื่อว่าจะเกิดประโยชน์และจะทำให้ใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจลาออกได้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น
ได้คำพิพากษาที่จะนำมาเล่าในวันนี้ก็คือ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 622-623/2564
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 วรรคสอง บัญญัติว่า การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่าการกระทำใดที่นายจ้าง “ไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป+ไม่จ่ายค่าจ้างให้”
ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายรวมถึง
กรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป ดังนั้น ในความหมายของการเลิกจ้างดังกล่าวข้างต้น จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างต้องกระทำการใดที่ไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้
การที่นาย ฤ. ผู้จัดการบริษัท พูดว่าเดือนพฤศจิกายนนี้ น่าจะได้รับค่าจ้างครั้งสุดท้ายและเดือนธันวาคจะไม่ได้รับค่าจ้าง ใครอยู่ก็ได้แต่ไม่ได้เงินใครไม่อยู่ให้ไปหางานทำ บริษัท ยังไม่ได้จ่ายค่าเช่าให้กับเจ้าของตึก แถมมีภรรยาผู้จัดการพูดเสริมมาอีกว่า “ไม่ต้องมาทำงานแล้วไม่ได้เงินเดือน ดีกว่ามาทำงาน
แต่ไม่ได้เงินเดือนจะเสียความรู้สึกกัน” แล้วฟางมาถึงท่อนนี้หลายคนอาจคิดว่า นี่แหละบีบออก!! ต่อให้เซ็นใบลาออกก็ต้องได้ค่าชดเชย แน่ๆ!!
ใครที่คิดอย่างนั้นอยู่ระวังโค้งหักศอกนะคะ
เพราะหากตีความตามมาตรา 119 ที่บอกไปข้างบนนั้นว่าการเลิกจ้างหมายถึงไม่ให้งานและไม่ให้เงินดังนั้นคำพูดของผู้จัดการและภรรยาของผู้จัดการนี้ เป็นเพียงคำพูดในลักษณะที่คาดการณ์ล่วงหน้าของบุคคลทั้งสองที่ไม่มีลักษณะเป็นการพูดเจาะจงว่า ไม่ให้ลูกจ้างมาทำงานและจะไม่จ่ายค่าจ้างให้อย่างแน่นอน
ส่วนข้อความที่ผู้จัดการ ส่งในแอพพลิเคชั่นไลน์ว่า “แจ้งพนักงานทุกท่านวันนี้ได้มีการประชุมมืมติให้พนักงานทำเรื่องลาออก และจะมีการแจ้งออกจากประกันสังคมให้ภายในวันนี้…” ก็เป็นเพียงข้อเสนอ ที่ให้พนักงานที่เป็นลูกจ้างตัดสินใจว่าจะลาออกหรือไม่เท่านั้น ยังไม่มีลักษณะเป็นการเลิกจ้างแต่อย่างใด
การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงแล้วว่าไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่า ผู้จัดการหรือตัวแทนนายจ้างคนนี้ ได้บอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ทั้งสอง และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัท ไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้
ดังนั้น เมื่อลูกจ้างใช้สิทธิลาหยุดตามประเพณีตั้งแต่ วันที่ 8/12/62 จนถึงวันที่ 16/12/62 แล้วไม่กลับมาทำงาน อีกเลย จึงเป็นกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างแรงงานโดยปริยาย ไม่ใช่เป็นกรณีที่บริษัทเลิกสัญญาจ้างกับลูกจ้าง
ติดต่องาน
Info@legalclinic.co.th