คำถามดี มีประเด็น กับคำถามที่ว่า
“นายจ้างมอบหมายงานเกินหน้าที่ ไม่ทำได้ไหม จะเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างโดยไม่ได่รับค่าชดเชยได้ไหม”
กรณีจากคำถามข้างต้นนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่า ลูกจ้าง “ปฏิเสธได้”หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1.ในการทำงานมีการกำหนด Job description หน้าที่และความรับผิดชอบไว้ชัดเจน
2.การมอบหมายงานเกินหน้าที่ เกินตำแหน่ง ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ที่นายจ้างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากลูกจ้างไม่ยินยอม ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ
3.กรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างเพราะเหตุที่ลูกจ้างปฏิเสธคำสั่งดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรืออาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้
ทั้งนี้ เทียบเคียงแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536-542/2538 คำสั่งของนายจ้างที่ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามป.พ.พ.มาตรา575,583และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ต้องเป็นคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของลูกจ้างและเป็นงานในกิจการของนายจ้างการที่จำเลยให้โจทก์ทั้งเจ็ดไปทำงานที่บริษัทอ. ซึ่งมิได้เป็นกิจการของจำเลยทั้งมิใช่งานตามหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดขัดหรือฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
4. แต่ถ้าใน Job description มีการกำหนดว่า “ลูกจ้างต้องทำงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย” (ซึ่งส่วนมากกำหนดแบบนี้ทุกบริษัท) ซึ่งถ้างานอื่นๆเกี่ยวข้องกับตำแหน่งหน้าที่ที่รับผิดชอบลูกจ้างก็ไม่สามารถปฏิเสธได้หรือถ้าปฏิเสธไม่ทำก็อาจจะถูกใบเตือนซึ่งนำมาสู่การเลิกจ้างได้
อย่างไรก็ตาม โดยคำว่างานอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมายมันครอบคลุมแสนแปดประการ ถ้ายังงั้นนายจ้างสั่งให้ทำอะไรก็ต้องทำงั้นสิ??
ไอ่คำว่างานอื่นๆในความเห็นของฝ้าย ฝ้ายคิดว่างานอื่นๆนั้นก็ต้องเกี่ยวกับหน้าที่ในการทางที่จ้างด้วย สมมุติว่าเป็นนิติกรของบริษัทแห่งหนึ่ง งานอื่นๆจะให้ไปทำคือทำ บัญชี หรือไปขับรถให้ผู้บริหาร อันนี้ก็คงไม่ได้เกี่ยวกับหน้าที่งานหรือความรู้ความสามารถแต่อย่างใด และโดยเฉพาะถ้าเป็นวิชาชีพเฉพาะการมอบหมายให้ไปทำ โดยอ้างว่าอยู่ในคำว่าขอบเขตงานอื่นๆ ก็เห็นว่านอกจากจะไม่แฟร์กับลูกจ้างแล้วยังอาจเกิดความเสียหายตามมาภายหลังให้แก่นายจ้างด้วย
แต่อย่างไรก็ตามในส่วนนี้มีความเห็นว่า ถ้านายจ้างมอบหมายงานเป็นครั้งคราว ลูกจ้างก็อย่าเพิ่งผลีผลามปฏิเสธ เอาเป็นว่าถ้างานดังกล่าว อยู่ในขอบเขตงานเกี่ยวเนื่องกับงานตามหน้าที่หรือเป็นงานเล็กๆน้อยๆ ที่ช่วยกันได้ก็ช่วยกันไปเป็นครั้งคราวลูกจ้างก็ควรจะต้องทำ และถ้างานนั้นต้องทำนอกเวลางานที่ลูกจ้างต้องทำงานล่วงเวลา อันนี้ลูกจ้างมีสิทธิที่จะปฏิเสธได้ หรือหากลูกจ้างยินยอมทำนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้กับลูกจ้างด้วย
และเช่นเคยสำหรับใครที่ไม่อยากจดจำ ไม่มีเวลาหาข้อมูล แต่มีคำถามในทางปฏิบัติมากมาย อยากหาทนายเคียงข้างธุรกิจ เป็นเพื่อนคู่คิดหรือเป็นมิตรคู่กาย ในการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายสักคน สามารถติดต่อมาได้ที่ info@legalclinic.co.th นะคะ