กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานแรงงานต่าวด้าว / ต่างชาติ ทำงานในไทย มีสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่ ?

29 July 2022
ล่าสุดบริษัทได้รับความไว้วางใจ จากลูกความต่างชาติรายหนึ่งที่ถูกเลิกจ้างโดยนายจ้างบอกว่าเชิญไปฟ้องตามสบายกฎหมายไม่ได้คุ้มครองแรงงานต่างชาติอยู่แล้ว
แหมฟังแล้วอยากจะตบเค้าฉาดดด แต่ก็จะดูโบราณไปหน่อยเลยได้แต่พูดว่า Ok, so just wait and see after this (โอเคเลยฝากบอกบริษัทด้วย แค่ตั้งตารอและทางตาดูให้ดีหลังจากนี้) เอาจริงๆในฐานะทนายไม่ใช่นักรบ เราไม่อยากไปตีรันฟันแทงกับใครเลย แต่บอกหลายครั้งแล้วว่าอย่าขู่ ไม่ว่าจะนายจ้างขู่ลูกจ้างหรือลูกจ้างขู่นายจ้าง มันไม่มีอะไรดีทั้งนั้นนั่นแหละ
แต่สำหรับนายจ้างท่านนี้ที่บอกว่าลูกจ้างต่างชาติฟ้องคดีในไทยไม่ได้ขอโอกาสเปิดโลกทัศน์ให้นิดนึงนะคะเพราะ “แม้เป็นต่างชาติแต่ก็ยังได้รับความคุ้มครอง” ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ” เพราะกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายแรงงานที่คุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่คุ้มครองแรงงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานไทย หรือแรงงานต่างด้าว ไม่ว่าจะเป็น ชาย หรือ หญิง จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม ตลอดจนการจ้างแรงงานเด็ก กฎหมายก็บัญญัติคุ้มครองไว้เช่นกัน
ส่วนลูกจ้างต่างด้าวที่ไม่ได้รับใบอนุญาตการทำงาน หรือเข้าเมืองมาโดยผิดกฎหมาย จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ หรือไม่นั้น
ตอบว่า “ได้รับความคุ้มครอง” ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ เช่นกัน เพราะอย่างที่บอกกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่คุ้มครองแรงงานทุกคน และ ทุกงาน ที่นิติสัมพันธ์เป็นการจ้างแรงงาน (ยกเว้น การจ้างงานที่กฎหมายบัญญัติไม่ให้นำมาบังคับใช้ ตาม ม.4)
ดังนั้น แม้ลูกจ้างจะไม่ได้รับใบอนุญาตการทำงาน ก็ยังได้รับความคุ้มครอง แต่ลูกจ้าง นายจ้างก็จะมีความผิดตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ ตาม ม.8 ที่กำหนดห้ามคนต่างด้าวทํางานโดยไม่มีใบอนุญาตทํางาน หรือทํางานนอกเหนือจากที่มีสิทธิที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท เมื่อชำระค่าปรับต้องถูกส่งตัวกลับประเทศอีกด้วย
ส่วนนายจ้างจะมีความผิด ตาม ม.9 ห้ามผู้ใดรับคนต่างด้าวทํางานโดยที่คนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทํางาน หรือให้คนต่างด้าวทํางานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทําได้ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน นอกจากนี้ หากเป็นการเข้าเมืองมาโดยผิดกฎหมาย ก็จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ อีก
เป็นไงอ่านแล้วหัวจะปวดไหมล่ะ
ดังนั้นรู้สิทธิรู้หน้าที่ ใช้สิทธิ์โดยสุจริตทั้งลูกจ้างทั้งนายจ้างคิดถึงใจเขาใจเราน่าจะดีที่สุดแล้วค่ะ
และเช่นเคยสำหรับใครที่ไม่อยากจดจำ ไม่มีเวลาหาข้อมูล แต่มีคำถามในทางปฏิบัติมากมาย อยากหาทนายเคียงข้างธุรกิจ เป็นเพื่อนคู่คิดหรือเป็นมิตรคู่กาย ในการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายสักคน สามารถติดต่อมาได้ที่ info@legalclinic.co.th นะคะ