กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานHow to เกษียณ

10 October 2021

นอกจากหลักการ เมื่อใด – ยังไง – เท่าไร ตามที่บอกไปในภาพแล้ว ยังมีอีกประเด็นนึงที่นายจ้างเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเกษียณอายุและทำให้เกิดความเสียหายทั้งกับตัวนายจ้างเองและกับลูกจ้างนั่นคือกรณีการจ้างต่อเนื่องหลังเกษียณอายุ

โดยส่วนมากปัญหานี้จะไม่เกิดกับบริษัทที่กำหนดเรื่องการเกษียณอายุไว้ชัดเจน แต่มักจะเกิดกับบริษัทที่ไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์การเกษียณอายุเอาไว้ ซึ่งเมื่อพนักงานอายุถึง 60 ปีบริบูรณ์ย่อมมีสิทธิ์เกษียณอายุได้ตามมาตรา 118/1 แห่งพรบคุ้มครองแรงงานฯ ที่กำหนดว่า…การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่นายจ้างกําหนดไว้ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกําหนดการเกษียณอายุไว้ หรือมีการตกลงหรือกําหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่า 60 ปี ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้ โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้าง
จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น ตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง”

แต่ในทางปฎิบัติ เมื่อพนักงานยังสามารถทำงานได้ในตำแหน่งนั้นๆ การทำงานก็ยังปล่อยไหลไปเรื่อยๆ ลูกจ้างก็ไม่ได้ใช้สิทธิ์เกษียณอายุ นายจ้างก็ไม่ได้จ่าย ไม่มีใครทักท้วง และยังคงทำงานต่อเรื่อยๆ จนวันนึง ลูกจ้างจึงขอเกษียณอายุไปพักผ่อน

กรณีเช่นนี้ ก็ยังถือว่านายจ้างมอบสิทธิการเกษียณอายุให้ลูกจ้าง จะถือว่าลูกจ้างลาออกเอง แล้วไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้นะ

นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย รวมถึงดอกเบี้ย 15% ของค่าชดเชย โดยคิดจากฐานค่าจ้างในวันขอเกษียณ และคิดตั้งแต่วันที่ลูกจ้างขอเกษียณ ไม่ใช่คิดตั้งแต่วันครบ 60 ปี ตามข้อบังคับรึตามกฎหมายกำหนด (ฎีกาที่ 1517/2557)

————- 💙

ติดต่อใช้บริการด้านกฎหมาย
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th