กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานได้ค่าชดเชยแล้วก็อาจจะมีสิทธิได้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

10 October 2021

เคยเล่าให้ฟังไปแล้วว่า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมกับค่าชดเชยเป็นคนละเรื่องกัน

แม้จะเป็นบทบัญญัติทางกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองลูกจ้างกรณีถูกเลิกจ้าง แต่ก็เป็นบทบัญญัติที่แยกต่างหากจากกันเลยทีเดียว กล่าวคือ ลูกจ้างจะได้ค่าชดเชยหรือไม่นั้น จะพิจารณาจากเหตุในการเลิกจ้าง ถ้าลูกจ้างกระทำความผิดตามม.119 ก็ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชย แต่ถ้าถูกเลิกจ้างโดยไม่ผิดตามม.119 ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามม.118 แห่งพรบ.คุ้มครองแรงงานซึ่งกำหนดไว้เป็นจำนวนแน่นอน

ส่วนการเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่นั้น ดูจากพฤติการณ์ ขั้นตอนการเลิกจ้าง และไม่มีกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเพียงในจำนวนแน่นอน แต่จะเป็นไปตามการพิจารณาจาก พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49

ดังนั้นแม้นายจ้างจะจ่ายเงินค่าชดเชย และลูกจ้างรับเงินดังกล่าวไปแล้ว ศาลแรงงานก็อาจพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอีกก็ได้

อ่านมาถึงตรงนี้นายจ้างคงเกิดคำถามว่า แล้วทำยังไงถึงจะจบกันแบบไม่ต้องระแวง อีกหลังจากจ่ายค่าชดเชยให้แล้ว?? ในความเห็นของเราเราแนะนำแบบนี้ค่ะ
1. ทำให้การเลิกจ้างนั้นเป็นทำเสียก่อนโดยการบริหารจัดการการจ้างรวมถึงการทำความเข้าใจหากต้องมีการเลิกจ้าง
2. เมื่อทำตามขั้นตอนตามข้อ 1 ตกลงได้ด้วยดีแล้วในการจ่ายค่าชดเชยต้องทำบันทึกข้อตกลงในการสละสิทธิ์เรียกร้องการฟ้องร้องดำเนินคดี (ซึ่งตรงนี้ไม่แนะนำให้บังคับเซ็นนะคะ เพราะหลายรายบังคับลูกจ้างเซน ก็ยังต้องจ่ายอยู่ดี เดี๋ยวว่างๆมาเล่าให้ฟัง)

บอกว่าจะเป็นประโยชน์และเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้อ่านบ้างนะคะ 🙂

————💙

ติดต่อจ้างบริการงานด้านกฎหมาย
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th